Friday, January 27, 2012

จะซื้อหุ้นกู้ ดูอะไรบ้าง


ประเด็นของ Entry นี้ก็แค่อยากจะบอกว่า "ถ้าจะซื้อหุ้นกูเนี่ย เค้าดูอะไรกันบ้าง" จากการนั่งถกเถียงกับทีมงานเป็นเวลาซักพัก ก็ทำให้สามารถสรุปเป็นประเด็นหลัก ที่น่าสนใจได้ดังนี้

1. ดูความน่าเชื่อถือของบริษัท เหยด!! นี่เป็นประเด็นแรกที่ควรจะดูโดยแท้จริง หากเราจะซื้อหุ้นกู้ของบริษัทไหนแล้ว ก็คงเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องทำความรู้จักบริษัทนั้นก่อน แล้วมีประเด็นอะไรบ้างล่ะที่ต้องดู
     1.1 ข้อมูลพื้นฐานของบริษัท เช่นว่า บริษัทนี้ผลิตส้นตีนอะไรขาย โครงสร้างเงินทุนเป็นยังไง กระแสเงินสดของมันเป็นยังไง ความสามารถในการทำกำไรมีเยอะมั้ยอะไรทำนองนี้แหละนะ
     1.2 ผลประกอบการ แน่นอน เป็นปัจจัยที่จะต้องนำมาพิจารณา เพราะถ้าผลประกอบการขอบริษัทมันไม่ดี มันก็มีความเสี่ยงที่จะเจ๊ง แล้วหนี้ของเราก็ปิ๋วไงล่ะจ๊ะ
     1.3 Rating & Investment Grade ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว หุ้นจะได้รับการประเมินจากสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการประเมินหุ้น เช่น S&P ( ไม่ใช่ร้านเค้กนะ) ว่ามี Rating เท่าไหร่ ซึ่งผลของการประเมินมันก็จะออกมาเหมือน Grade นี่แหละ เช่น AAA, AA, BBB- อะไรทำนองนี้หละนะ ซึ่งหุ้นที่มีความเสี่ยงที่ยอมรับได้เนี่ย ไม่ควรจะมี Rating ที่ต่ำกว่า BBB- นะจ๊ะ หรือถ้า Rating ต่ำกว่านี้จริง ผู้ขายหุ้นก็ควรจะให้ราคา Coupon Rate ที่สูงกว่า เพื่อที่จะดึงดูดให้นักลงทุนยอมเสี่ยง

2. ดู Coupon Rate อันนี้เป็นปัจจัยหลักที่ดูเลยก็ว่าได้ เพราะเราจะได้เงินเยอะหรือน้อย ก็ดูตาม Coupon Rate นี่แหละจ้า ถ้ายิ่งให้  Coupon Rate  มากกว่าราคาตลาดเยอะ ก็ยิ่งดึงดูดนักลงทุน แล้วดูยังไงล่ะ โดยปกติแล้วการซื้อหุ้นกู้จะมีตัวเลขที่ต้องนำมาพิจารณาอยู่ 2 ตัวก็คือ ราคา Bond และ Coupon Rate ราคา Bond ส่วนใหญ่ก็จะอยู่ที่ราคา Face Value (ประมาณ 1,000 บาท มั้ง) ส่วน Coupon Rate นี่ก็คือ % ของดอกเบี้ยที่เราจะได้ โดยท้ายที่สุดแล้ว เราจะได้เงินเท่าไหร่ก็ให้ลองเอา Coupon Rate * Par Value ดู ก็จะได้เท่านั้นแหละ ซึ่งโดยทั่วไปในประเด็นของการดู Coupon Rate เราก็จะดูว่า
     2.1 Coupon Rate >= Market Rate ถูกป่ะ ถึงจะน่าสนใจ โดยที่ Face Value จะต้องเท่าเดิม (1,000) หรือน้อยกว่าเดิม (แต่ส่วนใหญ่ถ้า Coupon Rate เยอะกว่าตลาดมาก Face Value จะแพงกว่าราคา Par เพราะคนแม่งแย่งกันซื้อ)
     2.2 ถ้า Face Value เปลี่ยน เนื่องจากสาเหตุใดก็ตาม โดยอาจจะเปลี่ยนโดย ถ้า Coupon Rate ให้มากกว่า Market Rate เยอะ ทำให้คนแห่มาซื้อ Face Value อาจจะแพงขึ้น เรียกว่า Premium Bond หรือ ในกรณีที่ Coupon Rate เท่าตลาด แต่ Rating บริษัทไม่ค่อยจะดี บริษัทก็อาจจะออกให้มาเป็น Discount Bond ก็ได้นะจ๊ะ อันนี้ต้องมานั่งคำนวนกันละ ว่าอันไหนให้ค่าตอบแทนมากกว่ากัน

3. ดูอายุหุ้น ดูไว้หน่อยก็ไม่เสียหาย เผื่อเราเกิดร้อนเงินกระทันหัน อยากได้ตังค์คืน ก็จะเกิดความเสี่ยงในแง่ที่เราต้องการจะขายเอาได้นะจ๊ะ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว หุ้นกู้ระยะยาวจะให้ดอกเบี้ยที่เยอะกว่าระยะสั้น เนื่องจากมันไปลดภาระของบริษัทได้

4. ดูสิทธิพิเศษ แหม่ ทำเป็นบัตรเครดิตไปได้ แต่มันมีจริงนะเออ ดูไว้หน่อย เผื่อขายหุ้นกู้ให้เรา แล้วให้สิทธิความเป็นเจ้าของ ก็น่าสนใจใช่มะ

5. ดูความเสี่ยง อันนี้ปวดหัวละ เพราะความเสี่ยงนั้นมันมีหลายด้านเหลือเกิน แต่โดยรวมแล้วก็น่าจะมีดังนี้
     5.1 ความเสี่ยงจากการผิดนัดหนี้ ถ้ามันเบี้ยวหนี้ เราทำไงดีฟระ
     5.2 ความเสี่ยงจากสภาพคล่องของตัวหุ้น สมมุติถ้าอยากขายก่อนกำหนด จะขายได้คล่องป่าวหว่า
     5.3 ความเสี่ยงด้านราคา สมมุติมีเหตุให้ขายก่อน ไม่ว่าจะร้อนเงิน หรืออะไรก็ตาม มันจะได้กำไรมากกว่าการถือจนครบกำหนดป่าวหว่า หรือจะขาดทุน โอ๊ย!! ปวดหมอง

6. ดูในแง่การลงทุนเมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนชนิดอื่น เช่น กำไรจากการซื้อและถือครบกำหนด มันได้มากกว่าการเอาเงินไปทำอย่างอื่นมั้ยวะ หรือถ้าเราฝากธนาคาร แม่งได้เงินเท่าซื้อหุ้นส้นตีนนี่เลย แถมความเสี่ยงน้อยกว่าอีก ก็ว่ากันไป

โครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสม


ความจริงส่วนตัวไม่ถูกกะการเงินอย่างแรง แต่เมื่อสถานการณ์มันบังคับ ชีวิตก็ต้องดำเนินต่อไปฮะ (T^T) ประเด็นต่อมาที่จะคุยกันก็คือ โครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมคืออะไร

โครงสร้างเงินทุนคืออะไร
โครงสร้างเงินทุนก็คือ แหล่งที่มาของเงินทุนทั้งหมดของธุรกิจ ซึ่งโดยทั่วไปจะประกอบด้วยหนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้นนั่นเอง
สืบเนื่องจาก Entry ที่ผ่านมา หนี้สินก็คือการออกตราสารหนี้ให้คนอื่นมาซื้อและมีสถานะเป็นเจ้าหนี้เรานี่แหละ ซึ่งการออกตราสารหนี้เนี่ยเราจะได้เงินมากมายมาทำทุนในการดำเนินกิจการของเรา แถมเรายังนำค่าใช้จ่ายการการจ่ายดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้ มาหักภาษีได้ด้วยนะ แสดงให้เห็นว่า การออกตราสารหนี้เนี่ย ทำให้เราได้เงินทุนโดยมีต้นทุนที่ต่ำ (เพราะเอาค่าใช้จ่ายมาหักภาษีได้) แต่ก็มีความเสี่ยงที่สูง เนื่องจาก เบี้ยวหนี้ไม่ได้ และมีระยะเวลาที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยที่แน่นอน  (เด๋วโดนกระทืบ) นั่นเอง
แล้วถ้าเป็นการออกตราสารทุนล่ะ มันก็มีความเสี่ยงที่ต่ำกว่า (เพราะเราสามารถไม่ออกเงินปันผลให้เจ้าของได้ หากกิจการไม่ดี) แต่ต้นทุนมันก็จะสูงกว่า (เพราะหักภาษีไม่ได้) ไงล่ะลูกเอ๊ย ดังนั้นหลักโดยสรุปก็ได้ดังนี้
- เจ้าหนี้ ต้องการอัตราผลตอบแทนที่ ต่ำกว่า เจ้าของ (ในขณะเดียวกันก็รับความเสี่ยงต่ำกว่าด้วย เพราะ เจ้าหนี้ มีสิทธิ์เรียกร้องในกระแสเงินสดก่อน เจ้าของ พูดง่ายๆ คือ หลังจากใช้หนี้หมดแล้ว กระแสเงินสดส่วนที่เหลือจึงเป็นของเจ้าของ)
- ผลตอบแทนของเจ้าหนี้ คือ “ดอกเบี้ย” นั้นสามารถนำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้ แต่ผลตอบแทนของเจ้าของ ซึ่งก็คือ “เงินปันผล” ไม่สามารถนำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายได้

อ้าว!! แล้วโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมคืออะไรล่ะ
แน่นอน โครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมก็คือ สัดส่วนของ หนี้สิน / ส่วนของเจ้าของ ที่ทำให้กิจการมีมูลค่าสูงสุด (ต้นทุนน้อยที่สุด) หรือมีความมั่งคั่งสูงสุด โดยที่ต้นทุนของหนี้สินก็คือ ดอกเบี้ย หักลบด้วยส่วนที่เราหักภาษีได้  และต้นทุนของส่วนของเจ้าของก็คือ เงินปันผล เห็นป่ะ ถ้าคิดแบบโคตรควายว่าการจัดโครงสร้างเงินทุนแบบไหนจะทำให้มีต้นทุน (WACC) ต่ำที่สุด (WACC ต่ำ = ต้นทุนต่ำ = ดี) ก็บอกเลยว่า หนี้สิน 100% และ ส่วนของเจ้าของ 0% แต่ช้าก่อนต๋อย คิดแบบนี้มันก็ง่ายเกินไป เพราะยังไม่ได้เอาเรื่อง "ความเสี่ยง" เข้ามาเกี่ยวข้องเลยนะจ๊ะอีหนู ดังนั้นการจัดโครงสร้างเงินทุนจึงเป็นการ Trade Off ของการก่อหนี้เชิงว่า หนี้เพิ่มความเสี่ยงก็เพิ่ม หนี้เพิ่มผลตอบแทนก็เพิ่มตาม แล้วจุดไหนล่ะที่จะทำให้บริษัทมั่งคั่งสูงสุดในความเสี่ยงที่ยอมรับได้

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดโครงสร้างเงินทุน
เนื่องจากที่กล่าวมาข้างต้น เราควรจะตัดสินใจโดยใช้ปัจจัยที่เหมาะสม เพื่อให้บริษัทสามารถประเมินได้ว่า บริษัทยอมรับความเสี่ยงได้ขนาดไหน ดังนี้จ่ะ
1. ความสม่ำเสมอของยอดขาย อ้าว!! แน่ดิ ถ้าขายของได้ไม่สม่ำเสมอก็อาจจะทำให้ความสามารถในการชำระหนี้เราน้อยจนไม่สามารถชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ได้
2. โครงสร้างสินทรัพย์ โดยปกติสินทรัพย์จะประกอบไปด้วย หนี้ + ส่วนของเจ้าของ ดูให้ดีนะจ๊ะ ถ้าหนี้เยอะ แล้วเราจะยังสามารถชำระหนี้ได้ตามระยะเวลาที่กำหนดหรือเปล่า
3. อัตราการเจริญเติบโต
4. ความสามารถในการทำกำไร
5. ภาษี หักได้เยอะมั้ย ถ้าไม่เยอะก็ลองพิจารณาว่าใช้ตราสารทุนดีกว่ามั้ย
6. การควบคุม การควบคุมกิจการว่า เราสามารถควบคุมกิจการให้เป็นไปตามเป้าหมายได้หรือไม่ หากควบคุมได้ง่าย ก็น่าเสี่ยงจริงมะ
7.ทัศนคติผู้บริหาร
8. ทัศนคติเจ้าหนี้ และตัวแทนจัดอันดับ
9. สภาวะตลาด
10. สภาวะภายในบริษัท
11. ความยืดหยุ่นในการจัดหาเงินทุน

ความแตกต่างของตราสารหนี้ และตราสารทุนคืออะไร


Entry นี้มาแปลก เนื่องจากผมมีเหตุจำเป็นให้ต้องศึกษาประเด็นเหล่านี้ก็เลยถือโอกาสเขียนเป็น Entry ไว้เลยเผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อคนอื่นไปด้วย และเชื่อว่าชีวิตช่วงนี้จะมีความเกี่ยวข้อง Entry ในรูปแบบนี้อย่างต่อเนื่องนะฮะ
ก่อนอื่นเราก็ต้องมาทำความรู้จักกับตราสารทางการเงินก่อนว่า คืออะไร มีอะไรบ้าง และมีประโยชน์อย่างไร

ตราสารทางการเงินคืออะไร
จากการค้นหาที่ Wikipedia ก็จับใจความได้ว่า  ตราสารทางการเงินคือ "เอกสารทางการเงินที่ผู้ออกหลักทรัพย์นำออกมาจำหน่ายเพื่อระดมเงินจากผู้ลงทุน" อาจนำมาจดทะเบียนเพื่อให้มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งตราสารทางการเงินอาจแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มคือ ตราสารหนี้ ตราสารทุน ตราสารอนุพันธ์ และ ตราสารที่มีลักษณะผสม ซึ่งเราจะไม่สนใจตราสารอนุพันธ์และ ตราสารที่มีลักษณะผสม ถ้าอยากรู้ไป Google เอาเองนะจ๊ะ

1. ตราสารหนี้
ตราสารหนี้เป็นตราสารที่ให้สิทธิการเป็น “เจ้าหนี้ของกิจการ” แก่ผู้ลงทุน ซึ่งในฐานะเจ้าหนี้ ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนหรือผลประโยชน์ตามที่ได้มีการกำหนดไว้ เรียกว่าดอกเบี้ย โดยผู้ออกตราสารหนี้จะระบุอัตราผลตอบแทน กำหนดวันจ่ายดอกเบี้ยและวันครบอายุหรือกำหนดไถ่ถอนตราสารไว้อย่างชัดเจน (ข้อมูลจาก TSI) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วตราสารหนี้ได้แก่
     1.1 ตราสารหนี้ภาครัฐ ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล, พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ, พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย, ตั๋วเงินคลัง ซึ่งเป็นตราสารมีความเสี่ยงต่ำสุดในด้านความสามารถในการชำระหนี้ แต่ตราสารหนี้ภาครัฐก็จะมีอัตราผลตอบแทนไม่สูงนัก ส่วนใหญ่จะมีอายุการลงทุนยาว เพื่อมิให้เป็นภาระของรัฐในด้านการบริหารและการจัดการหนี้
     1.2 ตราสารหนี้ภาคเอกชน ได้แก่ หุ้นกู้, หุ้นกู้มีประกัน, หุ้นกู้ไม่มีประกัน, ตั๋วแลกเงิน, ตั๋วสัญญาใช้เงิน โดยหากพิจารณาจากความสามารถในการชำระหนี้ ตราสารหนี้ภาคเอกชนจะมีความเสี่ยงมากกว่าตราสารหนี้ของภาครัฐ แต่ตราสารหนี้ภาคเอกชนจะมีอัตราผลตอบแทนสูงกว่า และมีอายุการลงทุนให้เลือกมาก ทั้งระยะสั้น ปานกลาง และระยะยาว

2. ตราสารทุน
ตราสารทุนเป็นตราสารที่ให้สิทธิการเป็น “เจ้าของกิจการ” แก่ผู้ลงทุน ดังนั้นในฐานะเจ้าของกิจการ ผู้ลงทุนจึงมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่ดีถ้ากิจการมีผลการดำเนินงานดี เรียกว่าเงินปันผลรวมถึงกำไรจากการขายหุ้นหรือเรียกว่าส่วนเกินมูลค่าหุ้น และมีความเสี่ยงที่จะขาดทุนหรือไม่ได้ผลตอบแทนถ้าผลการดำเนินงานของกิจการไม่เป็นไปตามที่คาดหมาย (ข้อมูลจาก TSI) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วตราสารทุนจะประกอบไปด้วยหุ้นมากมายหลายอย่าง แต่จะขอกล่าวถึง หุ้นสามัญ และหุ้นบุริมสิทธิ์
     2.1 หุ้นสามัญ คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการ และเมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน ผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับเงินปันผลในอัตราที่จัดสรรโดยที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น โดยคำนวณตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถือครอง ทั้งนี้ เงินปันผลอาจมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผลกำไรจากการดำเนินงานประจำปีของกิจการ
     2.2 หุ้นบุริมสิทธิ์ คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการที่มีการจดบุริมสิทธิ์ไว้อย่างชัดเจนไม่สามารถยกเลิกได้ เมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับเงินปันผลในอัตราคงที่ตามที่จดบุริมสิทธิ์ไว้ อาจจะมากหรือน้อยกว่าผู้ถือหุ้นสามัญก็ได้ แต่หากกิจการนั้นต้องเลิกดำเนินการและมีการชำระบัญชีโดยการขายทรัพย์สิน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับเงินคืนทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ

แล้วมันต่างกันยังไงล่ะ
จากที่อ่านข้อมูลด้านบน หลายท่านคงจะบ่นว่า "อู๊ย!! ไอ้เหี้ย โคตรยาวเลยว่ะ ใครจะไปอ่านของเมิง" หรือหลายท่านที่อ่านก็คงเห็นความแตกต่างบ้างแล้ว แต่เพื่อให้เกิดความชัดเจนขึ้น มองเห็นภาพมากขึ้น ผมก็จะชี้ให้เห็นความแตกต่างเป็น Bullet เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นนะฮะ
1. ความแตกต่างจากความเป็นเจ้าของ ในตราสารหนี้ ผู้ที่ลงทุนจะได้เป็น "เจ้าหนี้" แต่ในตราสารทุนจะได้เป็น "เจ้าของ" แล้วไง ก็เจ้าหนี้ก็เป็นเพียงเจ้าหนี้ไม่มีสิทธิ์ในการตัดสินใจทางธุรกิจ ส่วนเจ้าของเนี่ย หากซื้อในจำนวนหุ้นที่มากพอก็อาจจะได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารบริษัทเลยนะจ๊ะ
2. ความแตกต่างด้านผลตอบแทน ในตราสารหนี้ เงินที่ผู้ลงทุนได้รับจะเรียกว่า "ดอกเบี้ย (Interest)" ซึ่งจะมีอัตราและมีวันที่จะต้องจ่ายที่แน่นอนและชัดเจน (ส่วนใหญ่จะมีอัตราที่ต่ำกว่าตราสารทุน เพราะความเสี่ยงต่ำ) ส่วนตราสารทุนเงินที่ผู้ลงทุนได้รับจะเรียกว่า "เงินปันผล (Dividend)" ซึ่งจะจ่ายหรือไม่จ่ายก็ได้ แล้วแต่บริษัท (เศร้า) และนอกจากนี้ยังมีเงินอีกส่วนที่ได้จากการขายหุ้น หรือเรียกว่าส่วนเกินมูลค่าหุ้นนั่นเอง ซึ่งอาจจะกำไร หรือขาดทุนก็แล้วแต่กรณี ในแง่ของบริษัทผู้ออกตราสาร ในกรณีที่ออกตราสารหนี้ ดอกเบี้ยที่เราจ่ายให้เจ้าหนี้จะสามารถนำมาหักภาษีได้ แต่ในตราสารทุน อดแดรกจ้า
3. ความแตกต่างด้านระยะเวลา สำหรับตราสารหนี้ระยะเวลาในการถือตราสารของผู้ลงทุนจะถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน แต่ตราสารทุนค่อนข้างที่จะหลากหลายและดูเหมือนนานกว่า (ถ้าไม่ขายซะก่อน)
4. ความแตกต่างทางด้านความเสี่ยง ผู้ที่ลงทุนกับตราสารหนี้จะมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่า ไม่ว่าจะเป็นตราสารหนี้จากภาครัฐหรือเอกชน เนื่องจากผู้ลงทุนจะได้รับเงินดอกเบี้ยก่อนผู้ที่ลงทุนในตราสารทุนเสมอ (ก็กุเป็นเจ้าหนี้อ่ะ) ซึ่งได้ถูกกำหนดเป็น Rate และ เวลาการชำระหนี้ที่แน่นอน
5. ความแตกต่างหากเลิกกิจการ ซึ่งเป็นธรรมดาที่เจ้าหนี้จะได้ตังค์ก่อนหากบริษัทเจ๊ง ส่วนเจ้าของก็โชคจ้า

Monday, January 23, 2012

Lean Production

วันนี้โดนยา Nasifed เข้าไป ไม่เป็นอันทำอะไรเลยฮะ ง่วงตาจะปิดอยู่ตลอดเวลา อ่านหนังสือสอบก้ไม่รู้เรื่อง ก็เลยหาทางทำยังไงดีนะที่จะทำให้หายง่วงได้ และได้งานไปด้วย ก็เลยอัพบล๊อกแม่งซะเลย
การสอบ Comprehensive ที่จะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์นี้มีเรื่องที่เกี่ยวกับ Operation Management ซึ่งโดยรวมแล้ววิชานี้พูดถึงเรื่องการลดต้นทุนในการดำเนินงาน โดยวิธีหนึ่งที่ได้ประสิทธิภาพมากเรียกว่า Lean Production ซึ่งผมคิดว่าการลดต้นทุนเป็นวิธีที่ดีในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันนะ ยังไงก็น่าจะง่ายกว่าการหาเรื่องขึ้นราคาจริงป่ะ

Lean Production คืออะไร
ถ้าแปลตรงตัวแล้ว Lean แปลว่า ผอม หรือ ปราศจากไขมัน (ให้นึกภาพนักมวยไทยที่ตัวผอมแต่แข็งแรงไว้) ซึ่งให้ผลในแง่ดี อย่างที่บอกเหมือนคือนักมวยที่ไม่มีไขมัน เวลาวิ่ง หรือชกมวย ก็จะทำให้ไม่ต้องรับน้ำหนักส่วนเกิน ทำให้ชกได้กระฉับกระเฉง และว่องไวยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบนักมวยเป็นกระบวนการผลิตก็จะเห็นภาพกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ไม่มีส่วนใดที่ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งเวลาและเงินโดยใช่เหตุนั่นเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการลดต้นทุนแบบ Lean ไม่ได้แปลว่าให้ไล่พนักงานออกนะ แต่หากเป็นการปรับปรุงกระบวนการเก่าที่ใช้อยู่ในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งก็จะก่อให้เกิดผลดีมากมาย เช่น มีของเสียน้อย, Lead Time สั้นลง, พัสดุคงคลังมีปริมาณน้อย, และ ลดจำนวนการเกิดสภาพคอขวด ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลดีต่อองค์กรทั้งสิ้น ในความเห็นส่วนตัว คิดว่าการผลิตแบบ Lean นั้นเป็นที่แพร่หลายและสามารถประยุกต์ใช้ได้ในหลายวงการ ไม่แน่นะ Agile ในวงการ Software ก็อาจจะมาจาก Lean Production ก็ได้

เป้าหมายของ Lean Production
1. ให้ความสำคัญกับกระบวนการที่สร้างมูลค่าเพิ่มและตรงกับความต้องการของลูกค้า และลดกระบวนการที่ไม่สร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น การขนย้ายสินค้าที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ เป็นต้น
2. ลด "ความสูญเปล่าทั้ง 7 ประการ" หรือในวงการ Logistic จะเรียกกันว่า 7 Wastes
3. ลดระยะเวลาในการทำการผลิต
4. ลดต้นทุน

ความสูญเปล่าทั้ง 7 ที่เราจะใช้ Lean Production แก้
มีวิธีจำให้ง่ายขึ้นโดยให้จำว่า "WORMPIT" ดังนี้

1. W : Waiting หมายถึงการรอคอยที่ไม่เกิดประโยชน์ ซึ่งอาจเกิดจากปัญหาคอขวดในสายพานการผลิต ไม่ว่าจะเป็นทางด้านคนหรือเครื่องจักร ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดความไม่ต่อเนื่องในการผลิต หรือผลิตสินค้าได้ไม่ทันตามความต้องการของผู้บริโภค นับเป็นการสูญเสียด้านเวลาอย่างมหาศาล ยกตัวอย่างเช่น การรอคิวถ่ายเอกสารในแง่ของพนักงาน หรือการรอคิวการผลิตในสายพานการผลิตที่เกิดจากปัญหาคอขวดของวัตถุดิบ หรือ ความสามารถที่ไม่เท่ากันของพนักงาน โดยแนวทางแก้ไขของปัญหานี้ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้น โดยอาจจะใช้ Gantt Chart เพื่อดูระยะเวลาในการดำเนินงานแต่ละอย่างก็ได้ เพื่อให้เห็นภาพระยะเวลาในการผลิตโดยรวมและปรับปรุงตามความเหมาะสมก็ได้ หรือ อาจจะใช้วิธีการควบคุมการไหลของคิวงานตามแบบ FIFO หรือ LIFO ก็ได้ ตามความเหมาะสม

2. O : Over Production หมายถึง การผลิตที่มากเกินจำเป็น เนื่องจากผู้ผลิตสินค้าต้องการผลิตสินค้าให้มีจำนวนมากพอที่จะขายให้กับลูกค้าได้ และไม่ต้องการสูญเสียโอกาสในการขายสินค้าเมื่อลูกค้าต้องการโดยทันที ซึ่งการผลิตสินค้าให้มีจำนวนมากเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้แก้ปัญหาเหล่านี้ ซึ่งนี่เองเป็นสาเหตุของการผลิตที่มากเกินไปอีกด้วย ซึ่งการผลิตที่มากเกินไปนั้นไม่ได้ก่อให้เกิด Value เพิ่มในการผลิตเลย อีกทั้งยังเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยาการโดยใช่เหตุอีกด้วย ซึ่งหากจะยกตัวอย่างก็อาจจะมองเห็นได้หลายแง่ เช่น การที่ผู้ปฏิบัติงานทำงานที่นอกเหนือจากที่ผู้บังคับบัญชาสั่ง ดังนั้นนอกจากจะไม่ได้เป็นการเพิ่ม Value ให้งานที่สั่งแล้ว ยังเป็นการสูญเสียทรัพยากรและเวลาอีกด้วย โดยแนวทางแก้ไขปัญหานี้ก็ทำได้หลายวิธี (อีกละ) ไม่ว่าจะเป็น Process Analysis เพื่อนำผลที่ได้มาประเมินดูว่ามีงานที่ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์หรือไม่ หรือการใช้วิธีการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้้นเพื่อลด Defect ที่จะเกิดขึ้นในการบวนการผลิต ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตสามารถประเมินจำนวนสินค้าที่ควรจะผลิตได้แม่นยำมากขึ้นผ่านเครื่องมือ 7 QC ดังนี้
1. Check Sheet : ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลได้ง่ายยิ่งขึ้น
2. Pareto Chart : ใช้เพื่อกำหนดกรอบของปัญหา และประกอบการตัดสินใจว่าปัญหาไหนสำคัญที่สุด
3. Fishbone Diagram : ใช้เพื่อหาสาเหตุของปัญหาว่ามีสาเหตุใดเป็นไปได้บ้าง
4. Histogram : ใช้เพื่อวิเคราะห์ความเบี่ยงเบน (ที่ไม่เกี่ยวกับทางเพศ) ของข้อมูล
5. Scatter Diagram : ใช้เพื่อดูความสัมพันธ์กันระหว่างตัวแปร
6. Flow Chart : ใช้เพื่อแสดงการทำงานแบบทีละขั้นตอน และสามารถบอกได้ว่ามีขึ้นตอนไหนไม่จำเป็นได้ด้วยนะเออ
7. Control Chart :  เป็นแผนภูมิกราฟที่ใช้เพื่อการควบคุมกระบวนการผลิต โดยมีการแสดงให้เห็นถึงขอบเขตในการควบคุมทั้งขอบเขตควบคุมบน (UCL) และขอบเขตล่าง (LCL) แล้วนำข้อมูลด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในกระบวนการมาเขียนเทียบกับขอบเขตที่ตั้งไว้เพื่อจะได้รู้ว่า ในกระบวนการผลิต ณ เวลาใดมีปัญหาด้านคุณภาพ จะได้รีบแก้ไขปรับปรุงกระบวนการให้กลับสู่สภาพปกติโดยเร็ว

3. R : Rework หมายถึงความสูญเปล่าจากการกลับมาแก้ไขงานเก่าเนื่องจากสินค้าที่ผลิตได้ ไม่มีประสิทธิภาพ หรือการทำงานที่ซ้ำซ้อน ซึ่งข้อนี้ไม่ต้องพูดอะไรมาก แก้ไขได้โดยการทำให้ Defect ออกมาน้อยที่สุด "สตินะลูก สติ" อย่าให้มันเสียเยอะ หรืออาจจะใช้วิธีควบคุมคุณภาพโดยวิธี 7 QC ดังที่กล่าวมาข้างต้นก็ได้นะจ๊ะ แต่อย่างไรก็ตาม หัวใจสำคัญของการแก้ไขปัญหา Rework นี้ คือการรีบเร่งหาต้นตอของสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาแล้วแก้ซะ ก่อนที่สินค้า Lot ใหม่จะถูกผลิต

4. M : Motion หมายถึงความสูญเปล่าอันเกิดจากการเคลื่อนไหว ทำให้ทำงานได้ช้าลงเช่น พนักงานต้องเอียงไปหยิบวัตถุงดิบจากข้างหลังแล้วจึงหันหน้ามาผลิตได้ ซึ่งพบได้มากในโรงงานเย็บเสื้อผ้า หรือโรงงานแกะกุ้ง นอกจากจะทำให้ทำได้ช้าลงแล้วยังส่งผลเสียต่อร่างกายของพนักงานอีกด้วย ซึ่งความสูญเปล่านี้อาจจะแก้ไขได้โดยการจัดผังการวางของหรือการทำงานใหม่ซะ (Layout) หรือจะใช้วิธีการที่เราคุ้นเคยกันดี อย่างเช่น 5ส (สะอาด, สะดวก, สะสาง, สุขลักษณะ, สร้างนิสัย) หรือ ABC Analysis ก็ไม่ผิดนะ

5. P : Processing หมายถึงความสูญเปล่าจากการที่กระบวนการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่นการทำงานซ้ำซ้อน หรือแม้กระทั่งการไม่ดูแลรักษาเครื่องจักรจนทำให้ความสามารถของเครื่องจักรต่ำลง ซึ่งการทำ Process Analysis และการเขียน Flow Chart จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้

6. I : Inventory หมายถึงความสูญเปล่าจากการที่เรามีพัสดุคงคลังมากเกินไป ซึ่งบางคนถามว่าไม่ดีตรงไหน "ก็มันเปลืองพื้นที่ เสียเวลาขนส่ง เปลืองค่าบำรุงรักษาโกดัง ไงล่ะลูกเอ๊ย" ดังนั้นแก้ไขซะด้วยวิธี "JIT (Just In Time)" หรือ Pull Strategy ก็ได้นะลูก โดยมีลักษณะดังนี้
1. การไหลของวัสดุ เป็นแบบดึง (Pull Method)
หมายถึง การผลิตสินค้าเมื่อมีความต้องการ เมื่อผู้ผลิตได้รับคำสั่งผลิตก็จะทำการดึงสินค้าจาก Supplier  มาทำการผลิต
2. สั่งซื้อจำนวนน้อยในแต่ละครั้ง (Small Lot Size Ordering)
หมายถึง การกำหนดการสั่งซื้อวัสดุเท่ากับปริมาณที่จะใช้ในการผลิต ทำให้มีวัสดุพอดีไม่ต้องเหลือเก็บ แต่ก็มีข้อเสียเช่น หากเป็นการผลิตที่ไม่ใช้วัสดุนั้นเป็นประจำจะทำให้การสั่งซื้อมีปริมาณน้อย มีการสั่งซื้อย่อยบ่อยๆ ย่อมเพิ่มต้นทุนการสั่งซื้อ และต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มในวัสดุนั้น หากเป็นการผลิตที่ต้องมีการปรับตั้งเครื่องจักรบ่อยๆครั้ง  ก็อาจทำให้เสียเวลามากขึ้นได้
3.การผลิตแบบอัตโนมัติ (Automated Production)
การผลิตแบบอัตโนมัติมีความสัมพันธ์กับการจัดส่งแบบทันเวลาพอดีอย่างยิ่ง เพราะเป็นการสนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน ดังนั้นการกำหนดแผนงาน เวลา ปริมาณการใช้วัสดุต้องสัมพันธ์กันและต้องการความแม่นยำ
4. การปฎิบัติงานแบบคงที่ (Workstation Stability)
การวางแผนการทำงานที่ดี ทำให้จุดการทำงานหรือสถานีการทำงานได้รับงานในลักษณะคงที่ในแต่ละวัน เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น สามารถลดเวลาในการผลิต
5. ความสัมพันธ์กับผู้จัดส่งที่ดี (Good Relation)
โดยปกติการจัดส่งแบบทันเวลาพอดี (JIT) มักไม่เปลี่ยนตัวคู่ค้า หรือผู้จัดส่งบ่อยๆ เพื่อให้การจัดส่งเป็นไปอย่างราบรื่น และไว้ใจได้
ทั้งหมดทั้งมวลนี้มีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหา Inventory ได้ทั้งสิ้น แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ "การพยากรณ์สินค้าที่จะสั่งให้แม่นยำ" นั่นเอง

7. T : Transportation หมายถึงความสูญเปล่าเนื่องมาจากการขนย้ายไม่ว่าจะเป็นการข้นย้ายระหว่าง กระบวนการกับกระบวนการ ชั้นบน ชั้นล่าง หรือการขนย้ายไปวางชั่วคราว ณ ที่ใดที่หนึ่ง รวมไปถึงการขน วางซ้อน เปลี่ยน และการต้องขนงานขึ้นลงในแนวดิ่งด้วย ซึ่งการขนย้ายเหล่านี้ ไม่ได้ก่อให้เกิด Value เพิ่มเลย (ยกเว้นการขนย้ายที่เกิดประโยชน์) ซึ่งอาจจะแก้ปัญหานี้ได้โดยการทำยังไงก็ได้ให้มีการขนย้ายน้อยที่สุด เช่น การจัดแผนผังของโกดังให้เหมาะสม หรือ การหา Shortest Path ในการส่งของ เป็นต้น

Sunday, January 22, 2012

การโพรเซสภาพนั้น สำคัญไฉน

Entry นี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัว ต้องขอเกริ่นก่อนว่าผมเพิ่งหัดถ่ายรูปได้ไม่นาน แต่ก็ได้มีโอกาสพูดคุยกับช่างกล้องหลายคนอยู่เหมือนกัน (ดูดความรู้) หลายคนอคติกับการ Process รูปอยู่พอสมควร เพราะคิดว่าคนที่ Process รูปคือคนที่ถ่ายรูปไม่เก่ง ไม่ได้ใช้ฝีมือ หลายคนก็ไม่ตั้งใจถ่าย เพราะคิดว่า เดี๋ยวค่อยเอามาแก้ก็ได้ คิดว่าการ Process จะเสกทุกสิ่งได้ ซึ่งโดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่ค่อยชอบวิธีการคิดของคนพวกนี้เท่าไหร่ ผมก็เลยลองเก็บเอาคำพูดของคนเหล่านี้มานั่งคิดดู วิเคราะห์ รอจนความคิดตกผลึก แล้วก็อยากจะแบ่งปันมุมมองของผมให้ได้ฟังกันมั่ง

1. ก่อนอื่นเราต้องตอบคำถามตัวเองก่อนว่า เราถ่ายรูปเพื่ออะไร เพื่อให้ได้รุปสวยงาม เพื่อเก็บภาพบรรยากาศ เพื่อหาเงิน เพื่อผ่อนคลายเป็นงานอดิเรก หรือเพื่ออะไร เมื่อเราตอบคำถามแรกนี้ได้แล้ว เราก็ต้องมาคิดต่อว่าแล้วตัวชี้วัดว่าเราถ่ายรูปได้ดี ประสบความสำเร็จกับเป้าหมายในการถ่ายรูปของเราคืออะไร รูปสวย ความสุขในการถ่ายภาพ หรือการได้โอ้อวดว่า "รูปของกรุนั้น ไม่มีการแต่งแต้มทั้งสิ้น มาจากไฟล์ดิบเลย" ถ้าคำตอบของท่านเป็นข้อสุดท้าย เชิญมีความสุขกับการได้รูปจากไฟล์ดิบของท่านต่อไปฮะ (ไม่ได้ประชดนะ ความสุขของแต่ละคน มีปัจจัยต่างกัน)

2. สำหรับตัวผมแล้วการ Process ภาพ ไม่ใช่สิ่งที่ผิด อันที่จริงแล้วผมมองทั้งกล้องและคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือเหมือนกัน เครื่องมือที่จะทำให้ผมได้รูปที่สวยงามมาชื่นชม เครื่องมือที่จะให้ให้ผมมีความสุขทั้งการถ่ายภาพ และการนำภาพถ่ายที่ได้มาตกแต่งเหมือนที่วาดภาพไว้ ซึ่งอันที่จริงแล้ว ทั้งหมดทั้งมวลเหล่านี้มันก็คือศิลปะ กล้องเดียวกัน มุมเดียวกัน คนถ่ายคนละคน คน Process คนละคน ก็ได้ภาพมาสวยงามต่างกัน อย่างงี้ศิลปะ อยู่ที่คน หรืออยู่ที่เครื่องมือกันล่ะ

3. สำหรับผมแล้ว การที่ถ่ายรูปมาแล้วไม่ได้ Process มันก็เหมือนผมใช้เครื่องมือไม่ครบในการที่จะได้รูปดั่งใจคิด สำหรับผม มันไม่ใช่การแก้รูปเสียให้ออกมาดูดี ถ้าใครคิดแบบนี้ลองแก้รูปของผมให้ออกมาสวยหน่อยฮะ ผมมีรูปเสียเป็นกระบุง มันทำไม่ได้ทุกอย่างหรอกไอ้ PS เนี่ย ก็เหมือนกันการทำกับข้าว ถ้าเอาไก่เน่า ผักเน่ามาทำ อาหารจะอร่อยได้ยังไงจิงป่ะ

4. การ Process คือการลงทุน ในการ Process แต่ละครั้งนั้น หากเป็นมือใหม่ ก็ต้องใช้เวลา ต้องลองผิดลองถูก ต้อนผ่านกระบวนการ "คิด" ทั้งนั้น หลายคนยอมเสี่ยงที่จะเรียนรู้ หลายคนไม่กล้าเรียนรู้ (นี่่มันยุคดิจิตอลนะคร๊าฟฟฟฟ) หลายคน "ปิดใจ" ซึ่งท่านรู้รึเปล่า ว่ารูปออกจากกล้องที่ไม่ใช่กล้องฟิล์มเนี่ย แต่งมาแล้วทั้งนั้น แต่งจาก Feature ที่กลายเป็นปัจจัยในการเลือกซื้อกล้องของท่านน่ะแหละ ผู้ผลิตเค้าใส่มาให้หมดแล้วแหละ


สุดท้ายอยากให้ลอง "เปิดใจ" ดูฮะ แล้วท่านก็จะก้าวข้ามขีดความสามารถของตัวเองไปอีกขั้น ไม่งั้นชีวิตมันจำเจน่าเบื่อนี่นะ เพื่อนๆล่ะ คิดว่าไง