ความจริงส่วนตัวไม่ถูกกะการเงินอย่างแรง แต่เมื่อสถานการณ์มันบังคับ ชีวิตก็ต้องดำเนินต่อไปฮะ (T^T) ประเด็นต่อมาที่จะคุยกันก็คือ โครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมคืออะไร
โครงสร้างเงินทุนคืออะไร
โครงสร้างเงินทุนก็คือ แหล่งที่มาของเงินทุนทั้งหมดของธุรกิจ ซึ่งโดยทั่วไปจะประกอบด้วยหนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้นนั่นเอง
สืบเนื่องจาก Entry ที่ผ่านมา หนี้สินก็คือการออกตราสารหนี้ให้คนอื่นมาซื้อและมีสถานะเป็นเจ้าหนี้เรานี่แหละ ซึ่งการออกตราสารหนี้เนี่ยเราจะได้เงินมากมายมาทำทุนในการดำเนินกิจการของเรา แถมเรายังนำค่าใช้จ่ายการการจ่ายดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้ มาหักภาษีได้ด้วยนะ แสดงให้เห็นว่า การออกตราสารหนี้เนี่ย ทำให้เราได้เงินทุนโดยมีต้นทุนที่ต่ำ (เพราะเอาค่าใช้จ่ายมาหักภาษีได้) แต่ก็มีความเสี่ยงที่สูง เนื่องจาก เบี้ยวหนี้ไม่ได้ และมีระยะเวลาที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยที่แน่นอน (เด๋วโดนกระทืบ) นั่นเอง
แล้วถ้าเป็นการออกตราสารทุนล่ะ มันก็มีความเสี่ยงที่ต่ำกว่า (เพราะเราสามารถไม่ออกเงินปันผลให้เจ้าของได้ หากกิจการไม่ดี) แต่ต้นทุนมันก็จะสูงกว่า (เพราะหักภาษีไม่ได้) ไงล่ะลูกเอ๊ย ดังนั้นหลักโดยสรุปก็ได้ดังนี้
- เจ้าหนี้ ต้องการอัตราผลตอบแทนที่ ต่ำกว่า เจ้าของ (ในขณะเดียวกันก็รับความเสี่ยงต่ำกว่าด้วย เพราะ เจ้าหนี้ มีสิทธิ์เรียกร้องในกระแสเงินสดก่อน เจ้าของ พูดง่ายๆ คือ หลังจากใช้หนี้หมดแล้ว กระแสเงินสดส่วนที่เหลือจึงเป็นของเจ้าของ)
- ผลตอบแทนของเจ้าหนี้ คือ “ดอกเบี้ย” นั้นสามารถนำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้ แต่ผลตอบแทนของเจ้าของ ซึ่งก็คือ “เงินปันผล” ไม่สามารถนำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายได้
อ้าว!! แล้วโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมคืออะไรล่ะ
แน่นอน โครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมก็คือ สัดส่วนของ หนี้สิน / ส่วนของเจ้าของ ที่ทำให้กิจการมีมูลค่าสูงสุด (ต้นทุนน้อยที่สุด) หรือมีความมั่งคั่งสูงสุด โดยที่ต้นทุนของหนี้สินก็คือ ดอกเบี้ย หักลบด้วยส่วนที่เราหักภาษีได้ และต้นทุนของส่วนของเจ้าของก็คือ เงินปันผล เห็นป่ะ ถ้าคิดแบบโคตรควายว่าการจัดโครงสร้างเงินทุนแบบไหนจะทำให้มีต้นทุน (WACC) ต่ำที่สุด (WACC ต่ำ = ต้นทุนต่ำ = ดี) ก็บอกเลยว่า หนี้สิน 100% และ ส่วนของเจ้าของ 0% แต่ช้าก่อนต๋อย คิดแบบนี้มันก็ง่ายเกินไป เพราะยังไม่ได้เอาเรื่อง "ความเสี่ยง" เข้ามาเกี่ยวข้องเลยนะจ๊ะอีหนู ดังนั้นการจัดโครงสร้างเงินทุนจึงเป็นการ Trade Off ของการก่อหนี้เชิงว่า หนี้เพิ่มความเสี่ยงก็เพิ่ม หนี้เพิ่มผลตอบแทนก็เพิ่มตาม แล้วจุดไหนล่ะที่จะทำให้บริษัทมั่งคั่งสูงสุดในความเสี่ยงที่ยอมรับได้
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดโครงสร้างเงินทุน
เนื่องจากที่กล่าวมาข้างต้น เราควรจะตัดสินใจโดยใช้ปัจจัยที่เหมาะสม เพื่อให้บริษัทสามารถประเมินได้ว่า บริษัทยอมรับความเสี่ยงได้ขนาดไหน ดังนี้จ่ะ
1. ความสม่ำเสมอของยอดขาย อ้าว!! แน่ดิ ถ้าขายของได้ไม่สม่ำเสมอก็อาจจะทำให้ความสามารถในการชำระหนี้เราน้อยจนไม่สามารถชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ได้
2. โครงสร้างสินทรัพย์ โดยปกติสินทรัพย์จะประกอบไปด้วย หนี้ + ส่วนของเจ้าของ ดูให้ดีนะจ๊ะ ถ้าหนี้เยอะ แล้วเราจะยังสามารถชำระหนี้ได้ตามระยะเวลาที่กำหนดหรือเปล่า
3. อัตราการเจริญเติบโต
4. ความสามารถในการทำกำไร
5. ภาษี หักได้เยอะมั้ย ถ้าไม่เยอะก็ลองพิจารณาว่าใช้ตราสารทุนดีกว่ามั้ย
6. การควบคุม การควบคุมกิจการว่า เราสามารถควบคุมกิจการให้เป็นไปตามเป้าหมายได้หรือไม่ หากควบคุมได้ง่าย ก็น่าเสี่ยงจริงมะ
7.ทัศนคติผู้บริหาร
8. ทัศนคติเจ้าหนี้ และตัวแทนจัดอันดับ
9. สภาวะตลาด
10. สภาวะภายในบริษัท
11. ความยืดหยุ่นในการจัดหาเงินทุน
No comments:
Post a Comment