Friday, January 27, 2012

ความแตกต่างของตราสารหนี้ และตราสารทุนคืออะไร


Entry นี้มาแปลก เนื่องจากผมมีเหตุจำเป็นให้ต้องศึกษาประเด็นเหล่านี้ก็เลยถือโอกาสเขียนเป็น Entry ไว้เลยเผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อคนอื่นไปด้วย และเชื่อว่าชีวิตช่วงนี้จะมีความเกี่ยวข้อง Entry ในรูปแบบนี้อย่างต่อเนื่องนะฮะ
ก่อนอื่นเราก็ต้องมาทำความรู้จักกับตราสารทางการเงินก่อนว่า คืออะไร มีอะไรบ้าง และมีประโยชน์อย่างไร

ตราสารทางการเงินคืออะไร
จากการค้นหาที่ Wikipedia ก็จับใจความได้ว่า  ตราสารทางการเงินคือ "เอกสารทางการเงินที่ผู้ออกหลักทรัพย์นำออกมาจำหน่ายเพื่อระดมเงินจากผู้ลงทุน" อาจนำมาจดทะเบียนเพื่อให้มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งตราสารทางการเงินอาจแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มคือ ตราสารหนี้ ตราสารทุน ตราสารอนุพันธ์ และ ตราสารที่มีลักษณะผสม ซึ่งเราจะไม่สนใจตราสารอนุพันธ์และ ตราสารที่มีลักษณะผสม ถ้าอยากรู้ไป Google เอาเองนะจ๊ะ

1. ตราสารหนี้
ตราสารหนี้เป็นตราสารที่ให้สิทธิการเป็น “เจ้าหนี้ของกิจการ” แก่ผู้ลงทุน ซึ่งในฐานะเจ้าหนี้ ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนหรือผลประโยชน์ตามที่ได้มีการกำหนดไว้ เรียกว่าดอกเบี้ย โดยผู้ออกตราสารหนี้จะระบุอัตราผลตอบแทน กำหนดวันจ่ายดอกเบี้ยและวันครบอายุหรือกำหนดไถ่ถอนตราสารไว้อย่างชัดเจน (ข้อมูลจาก TSI) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วตราสารหนี้ได้แก่
     1.1 ตราสารหนี้ภาครัฐ ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล, พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ, พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย, ตั๋วเงินคลัง ซึ่งเป็นตราสารมีความเสี่ยงต่ำสุดในด้านความสามารถในการชำระหนี้ แต่ตราสารหนี้ภาครัฐก็จะมีอัตราผลตอบแทนไม่สูงนัก ส่วนใหญ่จะมีอายุการลงทุนยาว เพื่อมิให้เป็นภาระของรัฐในด้านการบริหารและการจัดการหนี้
     1.2 ตราสารหนี้ภาคเอกชน ได้แก่ หุ้นกู้, หุ้นกู้มีประกัน, หุ้นกู้ไม่มีประกัน, ตั๋วแลกเงิน, ตั๋วสัญญาใช้เงิน โดยหากพิจารณาจากความสามารถในการชำระหนี้ ตราสารหนี้ภาคเอกชนจะมีความเสี่ยงมากกว่าตราสารหนี้ของภาครัฐ แต่ตราสารหนี้ภาคเอกชนจะมีอัตราผลตอบแทนสูงกว่า และมีอายุการลงทุนให้เลือกมาก ทั้งระยะสั้น ปานกลาง และระยะยาว

2. ตราสารทุน
ตราสารทุนเป็นตราสารที่ให้สิทธิการเป็น “เจ้าของกิจการ” แก่ผู้ลงทุน ดังนั้นในฐานะเจ้าของกิจการ ผู้ลงทุนจึงมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่ดีถ้ากิจการมีผลการดำเนินงานดี เรียกว่าเงินปันผลรวมถึงกำไรจากการขายหุ้นหรือเรียกว่าส่วนเกินมูลค่าหุ้น และมีความเสี่ยงที่จะขาดทุนหรือไม่ได้ผลตอบแทนถ้าผลการดำเนินงานของกิจการไม่เป็นไปตามที่คาดหมาย (ข้อมูลจาก TSI) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วตราสารทุนจะประกอบไปด้วยหุ้นมากมายหลายอย่าง แต่จะขอกล่าวถึง หุ้นสามัญ และหุ้นบุริมสิทธิ์
     2.1 หุ้นสามัญ คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการ และเมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน ผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับเงินปันผลในอัตราที่จัดสรรโดยที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น โดยคำนวณตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถือครอง ทั้งนี้ เงินปันผลอาจมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผลกำไรจากการดำเนินงานประจำปีของกิจการ
     2.2 หุ้นบุริมสิทธิ์ คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการที่มีการจดบุริมสิทธิ์ไว้อย่างชัดเจนไม่สามารถยกเลิกได้ เมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับเงินปันผลในอัตราคงที่ตามที่จดบุริมสิทธิ์ไว้ อาจจะมากหรือน้อยกว่าผู้ถือหุ้นสามัญก็ได้ แต่หากกิจการนั้นต้องเลิกดำเนินการและมีการชำระบัญชีโดยการขายทรัพย์สิน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับเงินคืนทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ

แล้วมันต่างกันยังไงล่ะ
จากที่อ่านข้อมูลด้านบน หลายท่านคงจะบ่นว่า "อู๊ย!! ไอ้เหี้ย โคตรยาวเลยว่ะ ใครจะไปอ่านของเมิง" หรือหลายท่านที่อ่านก็คงเห็นความแตกต่างบ้างแล้ว แต่เพื่อให้เกิดความชัดเจนขึ้น มองเห็นภาพมากขึ้น ผมก็จะชี้ให้เห็นความแตกต่างเป็น Bullet เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นนะฮะ
1. ความแตกต่างจากความเป็นเจ้าของ ในตราสารหนี้ ผู้ที่ลงทุนจะได้เป็น "เจ้าหนี้" แต่ในตราสารทุนจะได้เป็น "เจ้าของ" แล้วไง ก็เจ้าหนี้ก็เป็นเพียงเจ้าหนี้ไม่มีสิทธิ์ในการตัดสินใจทางธุรกิจ ส่วนเจ้าของเนี่ย หากซื้อในจำนวนหุ้นที่มากพอก็อาจจะได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารบริษัทเลยนะจ๊ะ
2. ความแตกต่างด้านผลตอบแทน ในตราสารหนี้ เงินที่ผู้ลงทุนได้รับจะเรียกว่า "ดอกเบี้ย (Interest)" ซึ่งจะมีอัตราและมีวันที่จะต้องจ่ายที่แน่นอนและชัดเจน (ส่วนใหญ่จะมีอัตราที่ต่ำกว่าตราสารทุน เพราะความเสี่ยงต่ำ) ส่วนตราสารทุนเงินที่ผู้ลงทุนได้รับจะเรียกว่า "เงินปันผล (Dividend)" ซึ่งจะจ่ายหรือไม่จ่ายก็ได้ แล้วแต่บริษัท (เศร้า) และนอกจากนี้ยังมีเงินอีกส่วนที่ได้จากการขายหุ้น หรือเรียกว่าส่วนเกินมูลค่าหุ้นนั่นเอง ซึ่งอาจจะกำไร หรือขาดทุนก็แล้วแต่กรณี ในแง่ของบริษัทผู้ออกตราสาร ในกรณีที่ออกตราสารหนี้ ดอกเบี้ยที่เราจ่ายให้เจ้าหนี้จะสามารถนำมาหักภาษีได้ แต่ในตราสารทุน อดแดรกจ้า
3. ความแตกต่างด้านระยะเวลา สำหรับตราสารหนี้ระยะเวลาในการถือตราสารของผู้ลงทุนจะถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน แต่ตราสารทุนค่อนข้างที่จะหลากหลายและดูเหมือนนานกว่า (ถ้าไม่ขายซะก่อน)
4. ความแตกต่างทางด้านความเสี่ยง ผู้ที่ลงทุนกับตราสารหนี้จะมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่า ไม่ว่าจะเป็นตราสารหนี้จากภาครัฐหรือเอกชน เนื่องจากผู้ลงทุนจะได้รับเงินดอกเบี้ยก่อนผู้ที่ลงทุนในตราสารทุนเสมอ (ก็กุเป็นเจ้าหนี้อ่ะ) ซึ่งได้ถูกกำหนดเป็น Rate และ เวลาการชำระหนี้ที่แน่นอน
5. ความแตกต่างหากเลิกกิจการ ซึ่งเป็นธรรมดาที่เจ้าหนี้จะได้ตังค์ก่อนหากบริษัทเจ๊ง ส่วนเจ้าของก็โชคจ้า

2 comments: