Tuesday, February 21, 2012

Key Success Factor ของ B2B Marketing กรณีศึกษา SCG

จากกรณีศึกษาของ SCG ซึ่งสามารถเป็นบ่งชี้ได้ว่าหากทำ B2B Marketing ซึ่งมีความแตกต่างจากการทำตลาดแบบปกทั้งในเรื่อง พฤติกรรมลูกค้า การวางแผน หรือแม้กระทั่งการสื่อสารให้กับผู้บริโภค (องค์กร) ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วนั้น ถือเป็นการสร้างความสามารถทางการแข่งขันได้อย่างดี โดยจากการวิเคราะห์ทำให้สามารถสรุป Key Success Factor ของการทำ B2B Marketing กรณีศึกษา SCG ได้ดังนี้
  1. Product Quality สำหรับ SCG การควบคุมคุณภาพของสินค้าถือเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคุณภาพของสินค้าที่ดีเท่านั้นที่จะถูกส่งมอบให้กับลูกค้าปลายทาง ไม่ใช่เพียงแค่ลูกค้าองค์กร แต่ให้ความใส่ใจไปถึงลูกค้าปลายทางอีกด้วย โดย SCG ได้มีการสร้างมาตรการควบคุมคุณภาพปูนที่เข้มงวด รวมไปถึงการตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่ลูกค้าองค์กรได้ซื้อไป ทั้งในแง่ตัวคุณภาพของสินค้า บริการ และการจัดสถาณที่โชว์สินค้า หากลูกค้าองค์กรมีการควบคุมคุณภาพของสิ่งเหล่านี้จนได้มาตรฐานที่ SCG ได้ตั้งเอาไว้ก็จะได้รับป้ายซึ่งแสดงถึงความไม่ละเลยต่อคุณภาพ ซึ่งส่งผลดีต่อทุกผ่าย ทั้งผู้ผลิต ลูกค้าองค์กร และยังเพิ่มความมั่นใจต่อลูกค้าปลายทางอีกด้วย
  2. Customer Relationship สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการทำธุรกิจแบบ B2B นั่นคือ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและลูกค้าองค์กร เนื่องจากจำนวนลูกค้ามีจำนวนไม่มากเหมือนธุรกิจแบบ B2C ทำให้การดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิดเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ และเมื่อมันเป็นไปได้องค์กรที่เป็นเหมือนคู่แข่งกันต่างก็ใช้จุดนี้ในการสร้างความแตกต่างในธุรกิจ ซึ่งบางครั้งราคาของสินค้าอาจจะแพงกว่า แต่หากการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีถือเป็นการสร้างต้นทุนในการเปลี่ยน Supplier ได้อย่างดี ลูกค้าองค์กรต่างก็รู้ว่าการเปลี่ยน Supplier หรือการเสาะหา Partner ทางธุรกิจที่ดีนั้นทำได้ยากและใช้ต้นทุนสูง ดังนั้นกาสร้างความสัมพันธ์ที่ดีนั้นถือเป็นอาวุธที่สำคัญสำหรับการทำธุรกิจ B2B
  3. Partner Development อีกสิ่งหนึ่งที่จะมองข้ามไม่ได้คือการร่วมมือไปกับลูกค้า เพื่อสร้างการค้าขายที่ยั่งยืน การพัฒนาและฝึกสอนลูกค้าองค์กรให้มีความสามารถที่จะแข่งขันมากขึ้น โดยหากมองให้ลึกลงไปแล้วการที่ SCG จะขายของได้นั้น ลูกค้าองค์กรต้องขายของได้ก่อน ดังนั้นการที่ลูกค้าองค์กรมีความสามารถที่โดดเด่น จึงมีความเกี่ยวข้องกับยอดขายของ SCG อย่างมีนัยสำคัญ

Thursday, February 16, 2012

Key Success Factor สโมสรฟุตบอลอินทรีเพื่อนตำรวจ

     ในปัจจุบันต้องยอมรับว่ากระแสฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกมาแรงและเร็วมาก ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด ซึ่งผลพวกของกระแสฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกนั้น ทำให้ในวงการธุรกิจไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค ต้องหันมามองช่องทางที่จะตีคู่หรือเคียงข้างกับสโมสรใดสโมสรหนึ่งในฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกเพื่อทำการตลาด ในรูปของ Focus Marketing กันมากขึ้น ซึ่งนั่นส่งผลทำให้สโมสรฟุตบอลในไทยพรีเมียร์ลีกควรจะมีระบบการบริหาร การฝึกซ้อม และการทำการตลาดอย่างดีเพื่อฉกฉวยโอกาสทางธุรกิจเหล่านี้
สโมสรฟุตบอลอินทรีเพื่อนตำรวจ (Police United Football Club) เป็นสโมสรแรกในประเทศไทยที่จดทะเบียนเป็น บริษัทมหาชน เพื่อให้เกิดการบริหารงานอย่างมีมาตรฐาน น่าเชื่อถือ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างและพัฒนานักฟุตบอลเพื่อให้ไปรับใช้ชาติในฐานะนักฟุตบอลทีมชาติต่อไป โดยจากผลงานที่ผ่านมา สโมสรฟุตบอลอินทรีเพื่อนตำรวจมีผลงานที่ดีและประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยเบื้อหลังความสำเร็จ สามารถแบ่งได้เป็นประเด็นได้ดังนี้
     1.    Brand Image ซึ่งถือเป็นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งในการทำให้สโมสรฟุตบอลอินทรีเพื่อนตำรวจประสบความสำเร็จ คือการวาง Brand Image และสื่อตัวเองถึงความเป็นสุภาพบุรุษ เล่นฟุตบอลอย่างมีมารยาท และมีน้ำใจนักกีฬา รวมไปถึงการเลือกสปอนเซอร์หลักเป็น ปูน ตรานกอินทรี ซึ่งเป็นตราสินค้าที่ให้ความรู้สึก ห้าวหาญ เข้มแข็ง ถือเป็น Brand Image ที่เหมาะสมกับสโมสรฟุตบอลอินทรีเพื่อนตำรวจ จากปัจจัยเหล่านี้ส่งผลทำให้ทางสโมสรมีกลุ่มแฟนคลับเป้าหมายอยู่มากพอสมควร แม้ว่าชื่อสโมสรจะมีคำว่าตำรวจ ซึ่งส่งผลกระทบที่ไม่ดีให้กับสโมสร แต่ด้วยนโยบายของสโมสรที่ต้องการจะลบภาพตำรวจให้ออกไปจากสโมสร เพื่อจะทำให้สโมสรหรือนักเตะ มีความใกล้ชิดกับแฟนคลับมากยิ่งขึ้น ซึ่งการที่มีแฟนคลับเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เหล่าสปอนเซอร์เข้ามาจับมือกับสโมสรและก่อให้เกิดรายได้
     2.    ระบบการบริหารการจัดการของสโมสร เป็นที่รู้กันว่าสโมสรฟุตบอลอินทรีเพื่อนตำรวจมีระบบการบริหารและการจัดการของสโมสรอยู่ในระดับที่ดีมาก ไม่ว่าจะเป็นในด้านมาตรฐานของสนาม ตารางการฝึกซ้อมนักเตะ หรือการบริหารภายในสโมสรที่ได้มาตรฐาน ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อผลงานในสนามและยังทำให้สโมสรสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเป็นระบบและรวดเร็วมากขึ้น ประเด็นนี้รวมไปถึงระบบฝึกฝนนักเตะชุดเยาวชน เพื่อสร้างนักเตะที่มีคุณภาพและป้อนให้กับทีมชุดใหญ่ในอนาคต ซึ่งนอกจากจะสามารถประหยัดงบในการซื้อตัวนักเตะแล้ว การมีระบบฝึกสอนนักเตะเยาวชนที่ดียังสามารถขายนักเตะที่ฝึกฝนมาได้ในราคาแพงอีกด้วย
     3.    ความสัมพันธ์กับผู้สนับสนุน ในประเด็นนี้เหมารวมถึงแฟนคลับและสปอนเซอร์ สโมสรฟุตบอลอินทรีเพื่อนตำรวจมีกลยุทธ์ในการสร้างความสัมพันธ์กับแฟนคลับได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรมมให้แฟนคลับเข้าร่วม หรือการแจกเสื้อสโมสรให้กับตำรวจ การชักชวนให้แฟนคลับซื้อบัตรรายปี ซึ่งจะทำให้สามารถชมฟุตบอลได้ในราคาถูก สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้แฟนคลับของสโมสรฟุตบอลอินทรีเพื่อนตำรวจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะเพิ่มโอกาสให้สโมสรสามารถสร้างรายได้จากการขายเสื้อ ของที่ระลึก และยังเป็นปัจจัยที่ทำให้สปอนเซอร์เข้ามาลงทุนกับสโมสรเพิ่มอีกด้วย
     4.    ผลงานในสนาม เป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ว่าผลงานในสนามเป็นประเด็นที่แฟนบอลของสโมสรฟุตบอลอินทรีเพื่อนตำรวจให้ความสนใจ หากผลงานไม่ดีก็เป็นการยากที่จะทำให้แฟนคลับพอใจทั้งในแง่การติดตามมาเชียร์ในสนาม หรือการซื้อเสื้อและของที่ระลึก แต่ในที่นี้ผลงานในสนามไม่ได้แปลว่า สโมสรจำเป็นต้องชนะทุกการแข่งขัน ซึ่งจุดนี้ทางสโมสรตระหนักดีว่ากลุ่มแฟนคลับบางครั้งก็ไม่ได้สนใจว่าทีมจะชนะหรือไม่ แต่หากสนใจว่าทีมนั้นมีผลงานที่พอใช้ได้ แต่เล่นฟุตบอลได้สนุก สู้สุดใจขาดดิ้นก็สามารถชนะใจกลุ่มแฟนคลับได้ เนื่องจากธุรกิจนี้เป็นธุรกิจให้ความบันเทิง ดังนั้นสิ่งที่กลุ่มแฟนคลับคาดหวังคือการได้เชียร์ฟุตบอลอย่างสนุก และมีส่วนร่วมกับความรู้สึกของทีม ไม่ว่าจะเป็นความสุขจากผลการแข่งขันที่ชนะ หรือความสุขจากการเห็นทีมที่ตนเองเชียร์สู้จนหยดสุดท้ายซึ่งสโมสรฟุตบอลอินทรีเพื่อนตำรวจสามารถทำจุดนี้ได้สำเร็จ

ข้อเสนอแนะ
โดยรวมจากการบริหารและการทำการตลาดของสโมสรฟุตบอลอินทรีเพื่อนตำรวจนั้นสามารถทำได้ดีระดับหนึ่ง ข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้ หากมีการนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมจะทำให้ทางสโมสรสามารถประสบความสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น
     1.    กลุ่มแฟนคลับเป้าหมายยังไม่มากท่าที่ควร กล่าวคือกลุ่มเป้าหมายของสโมสรฟุตบอลอินทรีเพื่อนตำรวจยังเป็นชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้กับสนามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และเป็นตลาดคนรากหญ้า หรือผู้ที่ทำงานโรงงาน มาดูฟุตบอลเพื่อความบันเทิงแทนการผ่อนคลายแบบอื่น เช่น การเดินห้างสรรพสินค้า การสร้างกระแสการเข้าชมฟุดบอลจึงเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากจะเป็นการเพิ่มกลุ่มแฟนคลับแล้ว ยังก่อให้เกิดรายได้มหาศาลให้กับสโมสรอีกด้วย โดยแนวทางการปฏิบัติอาจจะสามารถทำได้โดย การร่วมกับสปอนเซอร์ร่วมกันทำโปรโมชั่นขายบัตรได้ในราคาถูก หรือแจกบัตรเข้าชมฟรี นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่ทางสโมสรควรปฏิบัติคือการสร้างความเชื่อและความสนิทสนมให้กับกลุ่มแฟนคลับให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ให้กลุ่มแฟนคลับรู้สึกว่าเป็นทีมของตน เป็นทีมที่ตนเป็นเจ้าของ ตนมีส่วนร่วมในทีม
     2.    การสร้างเสริมวินัยให้กับคนในสโมสรไม่ว่าจะเป็นนักเตะหรือโค๊ช สิ่งนี้หากฝึกจนเป็นค่านิยมของสโมสรแล้วจะส่งผลดีต่อผลงานในสนามในทางที่ดีอย่างเห็นได้ชัด

Key Success Factor ของการทำ CRM กรณีศึกษา AIS

ปัจจุบันเป็นที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีมีเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการประกอบธุรกิจ ยิ่งมีการแข่งขันสูงขึ้นธุรกิจยิ่งต้องการข้อมูลที่รวดเร็วและแม่นยำเพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจและคิดกลยุทธ์ที่จะสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าให้ได้ดีที่สุด และหนึ่งในระบบที่มีความสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการบริการลูกค้าที่ดีขึ้นก็คือระบบ CRM
จากกรณีศึกษาบริษัท AIS ชี้ให้เราเห็นว่าระบบ CRM เป็นเครื่องมือสำคัญที่บริษัทใช้สร้างความแตกต่างของสินค้าและบริการจนทำให้มีจำนวนลูกค้าที่วางใจใช้บริการถึง 33 ล้านเลขหมาย (ข้อมูล ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2555) และอัตรายกเลิกเลขหมายต่ำกว่าคู่แข่งถึง 60% ซึ่งเบื้อหลังความสำเร็จของการเป็นจ้าวตลาดนี้สามารถสรุปได้เป็นประเด็นหลักได้ดังนี้
1. มีการเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม หนึ่งในประเด็นสำคัญที่ทำให้ AIS ประสบความสำเร็จผ่านเครื่องมือ CRM นั้นคือการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับขนาด ประเภท และความต้องการของธุรกิจ โดยเริ่มตั้งแต่การใช้ระบบ CRM ของ Siebel ซึ่งเป็นระบบ CRM ระดับองค์กรที่มีประสิทธิภาพและยังสามารถปรับโครงสร้างให้เหมาะสมกับองค์กรที่นำไปใช้ได้อีกด้วย ซึ่งนี่เป็นประเด็นที่ค่อนข้างสำคัญเนื่องจากหลายองค์กรนำ CRM ไปใช้แต่ไม่ได้ปรับให้ระบบมีความเหมาะสมกับองค์กรจึงไม่ได้ทำให้เกิดประโยชน์จากการใช้ระบบนั้นเท่าที่ควร ซึ่งนอกจากนี้ AIS ยังมีระบบ Data Warehouse และระบบ Business Intelligent ที่มีประสิทธิภาพ กล่าวคือ AIS สามารถฐานข้อมูลขนาดยักษ์ ที่รวบรวมฐานข้อมูลจากหลายแหล่ง หลายช่วงเวลา มาไว้ ณ ที่เดียวกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุม เช่น ข้อมูลเบื้องต้น ข้อมูลการใช้งาน รวมไปถึงข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้า โดยผ่านเครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ดีแม้ว่าจะเป็นลูกค้าแบบ Pre Paid ซึ่งเข้าถึงข้อมูลได้ยาก แต่ AIS ก็มีวิธีการเก็บข้อมูลที่น่าสนใจเช่น การให้สิทธิประโยชน์บางประการกับลูกค้ากลุ่มนี้ เพื่อแลกกับข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งทำให้ AIS สามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มนี้ได้บ้าง หรือการสร้างทีมขึ้นมาเป็นเก็บข้อมูล บริการและตอบคำถามลูกค้าในแหล่งสื่อที่แตกต่างกันไปตลอด 24 ชั่วโมง เช่น http://pantip.com เพื่อให้ได้ข้อมูลบริการที่ AIS ควรปรับปรุงหรือ      Feedback ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร หลังจากนั้นจึงทำการ Mining ข้อมูลเหล่านั้น หรือใช้ระบบ Business Intelligent เพื่อสร้างรายงานที่ได้จากการ Mining ข้อมูลเหล่านั้นเพื่อให้ดูและวิเคราะห์ได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งส่วนที่ทำให้ AIS แตกต่างจากคู่แข่งขันคือการที่ AIS สามารถทำการรวบรวมและทำการ Mining ข้อมูลของลูกค้าแต่ละรายได้ภายในเวลาอันรวดเร็วนั่นเอง
2. บุคลากรผู้วิเคราะห์และใช้ข้อมูลมีประสิทธิภาพ เนื่องจากระบบ CRM เป็นแค่เครื่องมือในการทำธุรกิจ ดังนั้นปัจจัยที่จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรในการนำข้อมูลที่มีประโยชน์เหล่านี้ไปใช้คือ      นักวิเคราะห์ข้อมูลหรือผู้จัดการฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ AIS มีนักวิเคราะห์ที่สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจในการคิด Campaign หรือ Promotion เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ถึงแม้คู่แข่งจะมีระบบที่ทันสมัยทัดเทียมกัน จนทำให้ข้อมูลที่ได้ออกมามีความคล้ายคลึงกันก็ตาม ผู้ใช้งานข้อมูลเหล่านี้จะเป็นปัจจัยในการสร้างความแตกต่างให้กับองค์กรเอง ซึ่งการที่ AIS สามารถสร้างนักวิเคราะห์รวมถึงเหล่าผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพในการนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนี้ ชี้ให้เห็นว่า AIS ยังให้ความสำคัญกับการลงทุนในทรัพยากรบุคคลไม่ว่าจะเป็น Recruitment and Selection หรือ Training อีกด้วย
3. การให้ความสำคัญกับระบบ Call Center and IVR Solutions รวมถึงการสร้างค่านิยมองค์กร การจะสร้างธุรกิจบริการให้มีประสิทธิภาพนั้น ระบบ Call Center เป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น AIS จึงให้ความสำคัญในการ Training บุคลากรที่จะมารับหน้าที่ Call Center และพนักงานให้บริการให้มีความเข้าใจในการสร้างความสัมพันธ์และให้การบริการลูกค้า เนื่องจากพนักงานให้บริการและ Call Center ถือเป็น Front Line ในการติดต่อกับลูกค้าโดยตรง นอกจากนี้ AIS ยังปลูกฝังค่านิยมในการให้บริการให้พนักงานทุกคนและเปิดกว้างในการเสนอ Solutions ให้ลูกค้าตาม สถานการณ์ที่กำหนดเอาไว้เพื่อการตอบสนองลูกค้าได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย ซึ่งการจะทำ CRM ให้ประสบความสำเร็จสูงสุดได้นั้น พนักงานให้บริการก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ปฏิเสธไม่ได้ องค์กรจำเป็นจะต้องปรับโครงสร้างการบริการให้เป็นแบบ Customer Centric เพื่อให้บริการลูกค้าได้อย่างดีที่สุด ระบบ CRM นั้นเป็นเพียงแค่เครื่องมือที่จะทำให้การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น CRM ที่แท้จริงควรจะเกิดจากองค์กร ไม่ใช่เครื่องมือ

ข้อเสนอแนะ
โดยภาพรวมนั้น AIS ถือเป็นองค์กรที่โดดเด่นในการนำ CRM ไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่หากองค์กรต้องการที่จะพัฒนาคุณภาพการบริการให้ดียิ่งขึ้นไป ควรจะมีการเสริมปัจจัยดังต่อไปนี้
1.    เสนอแนะเรื่องการสร้างกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ลูกค้า Pre Paid เข้าร่วมโดยสร้างพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อร่วมกันทำธุรกิจ เช่น Major Cineplex, Mc Donald ซึ่งเป็นบริการที่ AIS มีอยู่แล้ว แต่อาจจะเพิ่มสินค้าให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยอาจจะ Interface ระบบกับ AIS eService ซึ่งถือเป็นช่องทางสำคัญที่จะทำให้เรารู้จักลูกค้าได้มากยิ่งขึ้นผ่านการ Verification ของตัวลูกค้าเอง ดังนั้นสิ่งที่ AIS ควรจะทำเพิ่มคือการเสนอโปรโมชั่นหรือส่วนลดของสินค้าหรือบริการที่โดนใจลูกค้าโดยส่งเสริมให้มาลงทะเบียนผ่าน AIS eService เพื่อที่ AIS จะสามารถดูแลลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

Thursday, February 2, 2012

Review Go Launcher EX

เพิ่งเคย Review Mobile Application ครั้งแรกเขิลเหมือนกันแฮะ วันนี้ตัวกระผมมี App จำนวน 1 ตัวไม่มากไม่น้อยมานำเสนอ ตัวนั้นมีชื่อว่า Go Launcher EX นั่นเอง ซึ่งผมเชื่อว่าหลายคนกำลังใช้อยู่ หลายคนรู้จักแต่ไม่ได้ใช้ และหลายคนไม่รู้จักเลย แต่ในเมื่อเราเลือกเป็นชายชาติ Android แล้ว รู้จักไว้ซักหน่อยก็ไม่เสียหายนะ

Home Replacement Application คืออะไร
ป๊าดโถ่ะ!! ง่ายนิดเดียว (แล้วเมิงจะให้มาทำความรู้จักก่อนทำไม) ก็ตัว Operating System ของ Android เนี่ย มันเป็น Open Source อย่างที่ทุกคนรู้ คราวนี้ เมื่อผู้ผลิตมือถืออยากจะผลิตมือถือ Android ซักเครื่องเนี่ย ก็จะต้องเอา Source Code จาก Android ไปเพื่อ Modify เป็น Version ของผู้ผลิตเอง ยกตัวอย่างเช่น Sense UI ของ HTC หรือ Android ที่เราคุ้นตาในทันทีที่เราเปิดเครื่องใหม่มาใช้ ไม่ว่าจะเป็น LG, Samsung, หรือ Motolora นั่นเอง คราวนี้ปัญหามันเกิดตรงที่ว่า Launcher ที่เกิดจากการ Modify จากผู้ผลิตมือถือเนี่ย ความยืดหยุ่นค่อนข้างน้อย หรืออาจจะมีปัญหาอื่นเช่น แดรกแบตเตอรี่ หรือ เรนเดอร์หน้าจอค่อนข้างช้า มันก็เลยเกิด Application จำพวก Home Replacement ขึ้นมายังไงล่ะจ๊ะ

Home Replacement Application มีอะไรบ้าง
เท่าที่หาใน Android Market มาเนี่ย ค่อนข้างจะมีมากมายหลายตัวอยู่เหมือนกัน แต่ตัวที่เด่นดังเนี่ย น่าจะมีอยู่ประมาณ 3 - 4 ตัวเห็นจะได้ (ความเห็นส่วนตัว) ก็คือ Go Launcher EX, Launcher Pro Plus, ADW Launcher บางตัวฟรี บางตัวก็ไม่ฟรี ซึ่งแต่ละตัวก็มีความสามารถรวมถึงรูปแบบที่แตกต่างกัน ก็แล้วแต่ชอบละกันนะจ๊ะ

มาเริ่มทำความรู้จัก Go Launcher EX กันได้
พอกดค้นหาคำว่า Launcher ใน Android Market เท่านั้น Go Launcher EX ก็จะโผล่มาให้เราเห็นทันควัน พอกดมาดูว่า App นี้มี Rating เท่าไหร่ ก็พบว่า โอ้ว!! ได้ตั้ง 4.7/5 จากผู้ให้คะแนน 290,566 ราย (ซึ่งข้อมูลมีจำนวนมากพอ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีไม่มาก ชี้ให้เห็นว่า App นี้น่าสนใจอย่างมีนัยสำคัญแล้วล่ะ (ว่าไปนั่น)
อีกหนึ่งประเด็นที่มักถูกมองข้ามคือ ใครคือผู้ผลิต อย่าลืมลองไปหาข้อมูลพวกนี้ไว้ด้วยก้ไม่เสียหายนะจ๊ะ คราวนี้ลองมาดูในรายละเอียดในหน้า Market ดูว่า GLEX ตัวนี้ทำอะไรได้บ้าง

- มันบอกว่ามี Themes ให้เลือกใช้เป็นพัน (ฟรีอีกตะหาก)
- มี Widgets ให้เลือกใช้มากมาย เช่น GO Calendar, GO Task Manager
- มี Effect การเปลี่ยนหน้าจอที่หลากหลาย
- ให้ความรู้ลึกลื่นไหลเวลาเปลี่ยนหน้าจอ
- สร้าง Folder เพื่อจัดชนิดของ Application ได้
- เปลี่ยน Icons, ซ่อน App Icons, และ Uninstall Apps ได้
อ่านจบแค่นี้ก็ไม่ต้องคิดมากครับ "โหลดเลยดีกว่า" เพราะแม่งดีกว่า Launcher ที่ติดมากับมือถือแบบขาดรอย และอีกประเด็นที่ทำให้ App นี้น่าใช้มากก็คือ "แม่งฟรี" ฮะ คนไทย ต่อให้ App ถูกขนาดไหนก็ไม่ยอมจะซื้อกัน แต่ไม่เป็นไร บัดนี้สวรรค์ได้ประทานของถูกและดีให้พวกเมิงได้ใช้กันแล้วฮะ ลองโหลดโลด หรือถ้าใครยังไม่มั่นใจว่าจะโหลดดีมั้ยก็ลองอ่านตามประเด็นด้านล่างกันต่อจ่ะ

สวยมั้ย
ต้องบอกว่าสวยไม่สวยขึ้นอยู่กะเมิงแต่งหน้าจอสวยมั้ย Android ถูกออกแบบมาให้มีหน้า Home แยกกับหน้า Application หรือที่เรียกกันว่า App Drawer (หากใครใช้ iPhone มาจะงงนิดหน่อย) ซึ่งหน้า Home นี้เอง จะอนุญาติให้เราใส่พวก Widgets ตามความชอบ หรือความสะดวกได้เลย โดยที่หลักของการปรับแต่ง ก็จะค้ายกันคือลาก Widgets ที่เราชอบมาวางไว้บนหน้า Home ได้เลย แต่ที่เด็ดก็คือเราสามารถปรับเปลี่ยนชื่อ App Shortcut ที่มาวางบนหน้าจอได้ หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยน Icon หรือ Action ที่ 4 ปุ่มด้านล่างได้อย่างอิสระ โดยรวมแล้วการออกแบบ GLEX ทำออกมาได้ ค่อนข้างน่ารัก และ Clean หรือถ้าใครไม่ชอบแบบดั้งเดิมแต่ขี้เกียจแต่งเอง ใน Android Market ก็มี Themes ให้เลือก Download ได้ฟรีตั้งมากมายและ Update ต่อเนี่งอีกด้วย (ซึ่งนี่เป็นประเด็นที่สำคัญที่ทำให้ GLEX โด่งดังขนาดนี้) ถ้าลองเปรียบเทียบกับ Launcher Pro Plus หรือ ADW ในแง่ความสวย ผม No Comment  เพราะเรื่องความสวยมันเป็นความชอบส่วนตัว ผมชอบคุณอาจจะไม่ชอบก็ได้

ปรับได้เยอะมั้ย
เยอะค่อนข้างใช้ได้เลยทีเดียว (อย่างน้อยก็เยอะกว่าที่แถมมากะมือถือล่ะนะ) ซึ่งจะมาอธิบายทีละปุ่มเลยนะ
- Add คือ เพิ่ม Item ไม่ว่าจะเป็น Widgets, Short Cut หรือ อะไรก็ตามเข้ามาในหน้า Home Screen ซึ่งผู้ใช้งานอาจจะใช้วิธีการกด ค้างที่หน้า Home Screen ก็สามารถ Add ได้เหมือนกันจ้า
- Wallpaper เปลี่ยน Wallpaper ธรรมดานี่แหละ
- Theme เปลี่ยนหรือ Download Theme ได้ในนี้นะจ๊ะ
- Go Store ในเมนูนี้จะรวบรวม Product ที่ GO DEV TEAM เป็นผู้ผลิตนะจ๊ะ
- Edit เพิ่มหรือลดจำนวนหน้า Home Screen แถมยังจัดเรียง Sequence ของหน้าได้ด้วยนะเออ
- Preference ในเมนูนี้ก็จะรวบรวมการปรับแต่งมากมายซึ่งจะกล่าวถึงในภายหลัง
- Setting เมนูนี้คือเมนู Setting หลักของ Android นะจ๊ะ
- Effect อันนี้เอาไว้ปรับแต่งพวก Effect เวลาเปลี่ยนหน้า Home Screen, ตอนเปิด App Drawer และตอนเปลี่ยนหน้า App Drawer จ่ะ

ซึ่งโดยรวมแล้วถือว่า GO DEV TEAM ทำได้ดีและยืดหยุ่น คราวนี้ลองมาดูใน App Drawer กันมั่งว่าปรับอะไรได้บ้าง
- เรียง Apps ได้หลายแบบ ทั้งตามตัวอักษร หรือตามว่าตัวไหน Installed ก่อน หลัง
- สร้าง Folder
- ซ่อน App ที่เราไม่ใช้งานบ่อย ก็จะทำให้เราหา App ง่ายขึ้นเยอะเลยนะเออ
- Setting ที่เกี่ยวกับ App Drawer เช่น จำนวน App ด้านนอนและด้านตั้ง, ตั้งค่าว่าจะให้มี Recent และ Running หรือไม่, หรือจะเปลี่ยนรูปแบบ App Drawer ไปเลยก็ยังได้

คราวนี้เราลองมาเจาะลึกว่าไอ้เมนู Preference เนี่ยทำอะไรได้บ้าง ซึ่งทั่วไปแล้ว GLEX ก็ได้แบ่งการ Setting เป็นตามประเภทได้ 6 หัวข้อคือ
1. Visual Setting ซึ่งจะทำให้เราปรับ Background, Icons, Font และ Screen Indicator ได้
2. Screen Setting ซึ่งจะทำให้เราสามารถปรับเกี่ยวกับ Home Screen เช่น จำนวน Icons แนวนอนและแนวตั้ง, เอาหรือไม่เอา Status Bar, หรือแม้กระทั่งปรับ Speed ในการเปลี่ยนหน้า
3. App Drawer Setting ก็ปรับอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับ App Drawer น่ะสิ
4. Effect Setting ก็เอาไว้ปรับ Effect เวลาเปลี่ยนหน้า (Transition) น่ะสิ
5. Gesture Setting ไว้ปรับ Action ตามต้องการ
โดยส่วนตัวแล้วค่อนข้างชอบการปรับแต่งได้เยอะขนาดนี้ ซึ่งหากถามว่าปรับได้เยอะมั้ย บอกได้เลยว่าเยอะ

เร็วมั้ย
อันนี้ตอบค่อนข้างยาก ต้องถามว่าเทียบกับอะไร หากเทียบกับ IOS ก็บอกได้เลยว่า ยังไง Android ก็ไม่มีทางเร็วกว่า IOS หรอก เพราะมันใช้ Java เป็น Base และอย่างที่ทุกคนรู้ Java มี Garbage Collection ซึ่งจะตื่นขึ้นมาเคลีย Garbage อยู่เป็นประจำซึ่งจะทำให้เกิดการกระตุกเล็กน้อย ตอนที่เราเล่นน่ะแหละ คราวนี้ ถ้าถามว่าทำไมไม่แก้ ก็ต้องตอบว่า ไม่ใช่ไม่แก้ แต่มันแก้ไม่ได้ เพราะ App ใน Android Market ขณะนี้เนี่ย มันเยอะเกินกว่าที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง Core OS แล้ว แล้วถ้าเทียบกับ Android ด้วยกันล่ะ
ก็ต้องตอบว่าแล้วแต่อยู่ดี Android Phone มี Specification ที่หลากหลาย ใช้ Hardware ที่ต่างกัน ดังนั้นมันก็เลยให้ Performance ที่ต่างกัน แต่โดยรวมแล้ว ถือว่าลื่นขึ้นมากทีเดียวหากเทียบกับ Android ที่มากับตัวเครื่อง

สรุปข้อดี
1. ลื่นขึ้นจาก Android ที่มาจากตัวเครื่อง และ Launcher อีกหลายตัว
2. ปรับแต่งได้เยอะ
3. มี Theme ให้เลือก
4. ฟรี
สรุปข้อเสีย
1. ลงใน SD Card ไม่ได้
2. อาจจะช้ากว่า Launcher Pro Plus และ Zeam Launcher

Friday, January 27, 2012

จะซื้อหุ้นกู้ ดูอะไรบ้าง


ประเด็นของ Entry นี้ก็แค่อยากจะบอกว่า "ถ้าจะซื้อหุ้นกูเนี่ย เค้าดูอะไรกันบ้าง" จากการนั่งถกเถียงกับทีมงานเป็นเวลาซักพัก ก็ทำให้สามารถสรุปเป็นประเด็นหลัก ที่น่าสนใจได้ดังนี้

1. ดูความน่าเชื่อถือของบริษัท เหยด!! นี่เป็นประเด็นแรกที่ควรจะดูโดยแท้จริง หากเราจะซื้อหุ้นกู้ของบริษัทไหนแล้ว ก็คงเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องทำความรู้จักบริษัทนั้นก่อน แล้วมีประเด็นอะไรบ้างล่ะที่ต้องดู
     1.1 ข้อมูลพื้นฐานของบริษัท เช่นว่า บริษัทนี้ผลิตส้นตีนอะไรขาย โครงสร้างเงินทุนเป็นยังไง กระแสเงินสดของมันเป็นยังไง ความสามารถในการทำกำไรมีเยอะมั้ยอะไรทำนองนี้แหละนะ
     1.2 ผลประกอบการ แน่นอน เป็นปัจจัยที่จะต้องนำมาพิจารณา เพราะถ้าผลประกอบการขอบริษัทมันไม่ดี มันก็มีความเสี่ยงที่จะเจ๊ง แล้วหนี้ของเราก็ปิ๋วไงล่ะจ๊ะ
     1.3 Rating & Investment Grade ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว หุ้นจะได้รับการประเมินจากสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการประเมินหุ้น เช่น S&P ( ไม่ใช่ร้านเค้กนะ) ว่ามี Rating เท่าไหร่ ซึ่งผลของการประเมินมันก็จะออกมาเหมือน Grade นี่แหละ เช่น AAA, AA, BBB- อะไรทำนองนี้หละนะ ซึ่งหุ้นที่มีความเสี่ยงที่ยอมรับได้เนี่ย ไม่ควรจะมี Rating ที่ต่ำกว่า BBB- นะจ๊ะ หรือถ้า Rating ต่ำกว่านี้จริง ผู้ขายหุ้นก็ควรจะให้ราคา Coupon Rate ที่สูงกว่า เพื่อที่จะดึงดูดให้นักลงทุนยอมเสี่ยง

2. ดู Coupon Rate อันนี้เป็นปัจจัยหลักที่ดูเลยก็ว่าได้ เพราะเราจะได้เงินเยอะหรือน้อย ก็ดูตาม Coupon Rate นี่แหละจ้า ถ้ายิ่งให้  Coupon Rate  มากกว่าราคาตลาดเยอะ ก็ยิ่งดึงดูดนักลงทุน แล้วดูยังไงล่ะ โดยปกติแล้วการซื้อหุ้นกู้จะมีตัวเลขที่ต้องนำมาพิจารณาอยู่ 2 ตัวก็คือ ราคา Bond และ Coupon Rate ราคา Bond ส่วนใหญ่ก็จะอยู่ที่ราคา Face Value (ประมาณ 1,000 บาท มั้ง) ส่วน Coupon Rate นี่ก็คือ % ของดอกเบี้ยที่เราจะได้ โดยท้ายที่สุดแล้ว เราจะได้เงินเท่าไหร่ก็ให้ลองเอา Coupon Rate * Par Value ดู ก็จะได้เท่านั้นแหละ ซึ่งโดยทั่วไปในประเด็นของการดู Coupon Rate เราก็จะดูว่า
     2.1 Coupon Rate >= Market Rate ถูกป่ะ ถึงจะน่าสนใจ โดยที่ Face Value จะต้องเท่าเดิม (1,000) หรือน้อยกว่าเดิม (แต่ส่วนใหญ่ถ้า Coupon Rate เยอะกว่าตลาดมาก Face Value จะแพงกว่าราคา Par เพราะคนแม่งแย่งกันซื้อ)
     2.2 ถ้า Face Value เปลี่ยน เนื่องจากสาเหตุใดก็ตาม โดยอาจจะเปลี่ยนโดย ถ้า Coupon Rate ให้มากกว่า Market Rate เยอะ ทำให้คนแห่มาซื้อ Face Value อาจจะแพงขึ้น เรียกว่า Premium Bond หรือ ในกรณีที่ Coupon Rate เท่าตลาด แต่ Rating บริษัทไม่ค่อยจะดี บริษัทก็อาจจะออกให้มาเป็น Discount Bond ก็ได้นะจ๊ะ อันนี้ต้องมานั่งคำนวนกันละ ว่าอันไหนให้ค่าตอบแทนมากกว่ากัน

3. ดูอายุหุ้น ดูไว้หน่อยก็ไม่เสียหาย เผื่อเราเกิดร้อนเงินกระทันหัน อยากได้ตังค์คืน ก็จะเกิดความเสี่ยงในแง่ที่เราต้องการจะขายเอาได้นะจ๊ะ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว หุ้นกู้ระยะยาวจะให้ดอกเบี้ยที่เยอะกว่าระยะสั้น เนื่องจากมันไปลดภาระของบริษัทได้

4. ดูสิทธิพิเศษ แหม่ ทำเป็นบัตรเครดิตไปได้ แต่มันมีจริงนะเออ ดูไว้หน่อย เผื่อขายหุ้นกู้ให้เรา แล้วให้สิทธิความเป็นเจ้าของ ก็น่าสนใจใช่มะ

5. ดูความเสี่ยง อันนี้ปวดหัวละ เพราะความเสี่ยงนั้นมันมีหลายด้านเหลือเกิน แต่โดยรวมแล้วก็น่าจะมีดังนี้
     5.1 ความเสี่ยงจากการผิดนัดหนี้ ถ้ามันเบี้ยวหนี้ เราทำไงดีฟระ
     5.2 ความเสี่ยงจากสภาพคล่องของตัวหุ้น สมมุติถ้าอยากขายก่อนกำหนด จะขายได้คล่องป่าวหว่า
     5.3 ความเสี่ยงด้านราคา สมมุติมีเหตุให้ขายก่อน ไม่ว่าจะร้อนเงิน หรืออะไรก็ตาม มันจะได้กำไรมากกว่าการถือจนครบกำหนดป่าวหว่า หรือจะขาดทุน โอ๊ย!! ปวดหมอง

6. ดูในแง่การลงทุนเมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนชนิดอื่น เช่น กำไรจากการซื้อและถือครบกำหนด มันได้มากกว่าการเอาเงินไปทำอย่างอื่นมั้ยวะ หรือถ้าเราฝากธนาคาร แม่งได้เงินเท่าซื้อหุ้นส้นตีนนี่เลย แถมความเสี่ยงน้อยกว่าอีก ก็ว่ากันไป

โครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสม


ความจริงส่วนตัวไม่ถูกกะการเงินอย่างแรง แต่เมื่อสถานการณ์มันบังคับ ชีวิตก็ต้องดำเนินต่อไปฮะ (T^T) ประเด็นต่อมาที่จะคุยกันก็คือ โครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมคืออะไร

โครงสร้างเงินทุนคืออะไร
โครงสร้างเงินทุนก็คือ แหล่งที่มาของเงินทุนทั้งหมดของธุรกิจ ซึ่งโดยทั่วไปจะประกอบด้วยหนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้นนั่นเอง
สืบเนื่องจาก Entry ที่ผ่านมา หนี้สินก็คือการออกตราสารหนี้ให้คนอื่นมาซื้อและมีสถานะเป็นเจ้าหนี้เรานี่แหละ ซึ่งการออกตราสารหนี้เนี่ยเราจะได้เงินมากมายมาทำทุนในการดำเนินกิจการของเรา แถมเรายังนำค่าใช้จ่ายการการจ่ายดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้ มาหักภาษีได้ด้วยนะ แสดงให้เห็นว่า การออกตราสารหนี้เนี่ย ทำให้เราได้เงินทุนโดยมีต้นทุนที่ต่ำ (เพราะเอาค่าใช้จ่ายมาหักภาษีได้) แต่ก็มีความเสี่ยงที่สูง เนื่องจาก เบี้ยวหนี้ไม่ได้ และมีระยะเวลาที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยที่แน่นอน  (เด๋วโดนกระทืบ) นั่นเอง
แล้วถ้าเป็นการออกตราสารทุนล่ะ มันก็มีความเสี่ยงที่ต่ำกว่า (เพราะเราสามารถไม่ออกเงินปันผลให้เจ้าของได้ หากกิจการไม่ดี) แต่ต้นทุนมันก็จะสูงกว่า (เพราะหักภาษีไม่ได้) ไงล่ะลูกเอ๊ย ดังนั้นหลักโดยสรุปก็ได้ดังนี้
- เจ้าหนี้ ต้องการอัตราผลตอบแทนที่ ต่ำกว่า เจ้าของ (ในขณะเดียวกันก็รับความเสี่ยงต่ำกว่าด้วย เพราะ เจ้าหนี้ มีสิทธิ์เรียกร้องในกระแสเงินสดก่อน เจ้าของ พูดง่ายๆ คือ หลังจากใช้หนี้หมดแล้ว กระแสเงินสดส่วนที่เหลือจึงเป็นของเจ้าของ)
- ผลตอบแทนของเจ้าหนี้ คือ “ดอกเบี้ย” นั้นสามารถนำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้ แต่ผลตอบแทนของเจ้าของ ซึ่งก็คือ “เงินปันผล” ไม่สามารถนำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายได้

อ้าว!! แล้วโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมคืออะไรล่ะ
แน่นอน โครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมก็คือ สัดส่วนของ หนี้สิน / ส่วนของเจ้าของ ที่ทำให้กิจการมีมูลค่าสูงสุด (ต้นทุนน้อยที่สุด) หรือมีความมั่งคั่งสูงสุด โดยที่ต้นทุนของหนี้สินก็คือ ดอกเบี้ย หักลบด้วยส่วนที่เราหักภาษีได้  และต้นทุนของส่วนของเจ้าของก็คือ เงินปันผล เห็นป่ะ ถ้าคิดแบบโคตรควายว่าการจัดโครงสร้างเงินทุนแบบไหนจะทำให้มีต้นทุน (WACC) ต่ำที่สุด (WACC ต่ำ = ต้นทุนต่ำ = ดี) ก็บอกเลยว่า หนี้สิน 100% และ ส่วนของเจ้าของ 0% แต่ช้าก่อนต๋อย คิดแบบนี้มันก็ง่ายเกินไป เพราะยังไม่ได้เอาเรื่อง "ความเสี่ยง" เข้ามาเกี่ยวข้องเลยนะจ๊ะอีหนู ดังนั้นการจัดโครงสร้างเงินทุนจึงเป็นการ Trade Off ของการก่อหนี้เชิงว่า หนี้เพิ่มความเสี่ยงก็เพิ่ม หนี้เพิ่มผลตอบแทนก็เพิ่มตาม แล้วจุดไหนล่ะที่จะทำให้บริษัทมั่งคั่งสูงสุดในความเสี่ยงที่ยอมรับได้

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดโครงสร้างเงินทุน
เนื่องจากที่กล่าวมาข้างต้น เราควรจะตัดสินใจโดยใช้ปัจจัยที่เหมาะสม เพื่อให้บริษัทสามารถประเมินได้ว่า บริษัทยอมรับความเสี่ยงได้ขนาดไหน ดังนี้จ่ะ
1. ความสม่ำเสมอของยอดขาย อ้าว!! แน่ดิ ถ้าขายของได้ไม่สม่ำเสมอก็อาจจะทำให้ความสามารถในการชำระหนี้เราน้อยจนไม่สามารถชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ได้
2. โครงสร้างสินทรัพย์ โดยปกติสินทรัพย์จะประกอบไปด้วย หนี้ + ส่วนของเจ้าของ ดูให้ดีนะจ๊ะ ถ้าหนี้เยอะ แล้วเราจะยังสามารถชำระหนี้ได้ตามระยะเวลาที่กำหนดหรือเปล่า
3. อัตราการเจริญเติบโต
4. ความสามารถในการทำกำไร
5. ภาษี หักได้เยอะมั้ย ถ้าไม่เยอะก็ลองพิจารณาว่าใช้ตราสารทุนดีกว่ามั้ย
6. การควบคุม การควบคุมกิจการว่า เราสามารถควบคุมกิจการให้เป็นไปตามเป้าหมายได้หรือไม่ หากควบคุมได้ง่าย ก็น่าเสี่ยงจริงมะ
7.ทัศนคติผู้บริหาร
8. ทัศนคติเจ้าหนี้ และตัวแทนจัดอันดับ
9. สภาวะตลาด
10. สภาวะภายในบริษัท
11. ความยืดหยุ่นในการจัดหาเงินทุน

ความแตกต่างของตราสารหนี้ และตราสารทุนคืออะไร


Entry นี้มาแปลก เนื่องจากผมมีเหตุจำเป็นให้ต้องศึกษาประเด็นเหล่านี้ก็เลยถือโอกาสเขียนเป็น Entry ไว้เลยเผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อคนอื่นไปด้วย และเชื่อว่าชีวิตช่วงนี้จะมีความเกี่ยวข้อง Entry ในรูปแบบนี้อย่างต่อเนื่องนะฮะ
ก่อนอื่นเราก็ต้องมาทำความรู้จักกับตราสารทางการเงินก่อนว่า คืออะไร มีอะไรบ้าง และมีประโยชน์อย่างไร

ตราสารทางการเงินคืออะไร
จากการค้นหาที่ Wikipedia ก็จับใจความได้ว่า  ตราสารทางการเงินคือ "เอกสารทางการเงินที่ผู้ออกหลักทรัพย์นำออกมาจำหน่ายเพื่อระดมเงินจากผู้ลงทุน" อาจนำมาจดทะเบียนเพื่อให้มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งตราสารทางการเงินอาจแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มคือ ตราสารหนี้ ตราสารทุน ตราสารอนุพันธ์ และ ตราสารที่มีลักษณะผสม ซึ่งเราจะไม่สนใจตราสารอนุพันธ์และ ตราสารที่มีลักษณะผสม ถ้าอยากรู้ไป Google เอาเองนะจ๊ะ

1. ตราสารหนี้
ตราสารหนี้เป็นตราสารที่ให้สิทธิการเป็น “เจ้าหนี้ของกิจการ” แก่ผู้ลงทุน ซึ่งในฐานะเจ้าหนี้ ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนหรือผลประโยชน์ตามที่ได้มีการกำหนดไว้ เรียกว่าดอกเบี้ย โดยผู้ออกตราสารหนี้จะระบุอัตราผลตอบแทน กำหนดวันจ่ายดอกเบี้ยและวันครบอายุหรือกำหนดไถ่ถอนตราสารไว้อย่างชัดเจน (ข้อมูลจาก TSI) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วตราสารหนี้ได้แก่
     1.1 ตราสารหนี้ภาครัฐ ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล, พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ, พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย, ตั๋วเงินคลัง ซึ่งเป็นตราสารมีความเสี่ยงต่ำสุดในด้านความสามารถในการชำระหนี้ แต่ตราสารหนี้ภาครัฐก็จะมีอัตราผลตอบแทนไม่สูงนัก ส่วนใหญ่จะมีอายุการลงทุนยาว เพื่อมิให้เป็นภาระของรัฐในด้านการบริหารและการจัดการหนี้
     1.2 ตราสารหนี้ภาคเอกชน ได้แก่ หุ้นกู้, หุ้นกู้มีประกัน, หุ้นกู้ไม่มีประกัน, ตั๋วแลกเงิน, ตั๋วสัญญาใช้เงิน โดยหากพิจารณาจากความสามารถในการชำระหนี้ ตราสารหนี้ภาคเอกชนจะมีความเสี่ยงมากกว่าตราสารหนี้ของภาครัฐ แต่ตราสารหนี้ภาคเอกชนจะมีอัตราผลตอบแทนสูงกว่า และมีอายุการลงทุนให้เลือกมาก ทั้งระยะสั้น ปานกลาง และระยะยาว

2. ตราสารทุน
ตราสารทุนเป็นตราสารที่ให้สิทธิการเป็น “เจ้าของกิจการ” แก่ผู้ลงทุน ดังนั้นในฐานะเจ้าของกิจการ ผู้ลงทุนจึงมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่ดีถ้ากิจการมีผลการดำเนินงานดี เรียกว่าเงินปันผลรวมถึงกำไรจากการขายหุ้นหรือเรียกว่าส่วนเกินมูลค่าหุ้น และมีความเสี่ยงที่จะขาดทุนหรือไม่ได้ผลตอบแทนถ้าผลการดำเนินงานของกิจการไม่เป็นไปตามที่คาดหมาย (ข้อมูลจาก TSI) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วตราสารทุนจะประกอบไปด้วยหุ้นมากมายหลายอย่าง แต่จะขอกล่าวถึง หุ้นสามัญ และหุ้นบุริมสิทธิ์
     2.1 หุ้นสามัญ คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการ และเมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน ผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับเงินปันผลในอัตราที่จัดสรรโดยที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น โดยคำนวณตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถือครอง ทั้งนี้ เงินปันผลอาจมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผลกำไรจากการดำเนินงานประจำปีของกิจการ
     2.2 หุ้นบุริมสิทธิ์ คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการที่มีการจดบุริมสิทธิ์ไว้อย่างชัดเจนไม่สามารถยกเลิกได้ เมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับเงินปันผลในอัตราคงที่ตามที่จดบุริมสิทธิ์ไว้ อาจจะมากหรือน้อยกว่าผู้ถือหุ้นสามัญก็ได้ แต่หากกิจการนั้นต้องเลิกดำเนินการและมีการชำระบัญชีโดยการขายทรัพย์สิน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับเงินคืนทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ

แล้วมันต่างกันยังไงล่ะ
จากที่อ่านข้อมูลด้านบน หลายท่านคงจะบ่นว่า "อู๊ย!! ไอ้เหี้ย โคตรยาวเลยว่ะ ใครจะไปอ่านของเมิง" หรือหลายท่านที่อ่านก็คงเห็นความแตกต่างบ้างแล้ว แต่เพื่อให้เกิดความชัดเจนขึ้น มองเห็นภาพมากขึ้น ผมก็จะชี้ให้เห็นความแตกต่างเป็น Bullet เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นนะฮะ
1. ความแตกต่างจากความเป็นเจ้าของ ในตราสารหนี้ ผู้ที่ลงทุนจะได้เป็น "เจ้าหนี้" แต่ในตราสารทุนจะได้เป็น "เจ้าของ" แล้วไง ก็เจ้าหนี้ก็เป็นเพียงเจ้าหนี้ไม่มีสิทธิ์ในการตัดสินใจทางธุรกิจ ส่วนเจ้าของเนี่ย หากซื้อในจำนวนหุ้นที่มากพอก็อาจจะได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารบริษัทเลยนะจ๊ะ
2. ความแตกต่างด้านผลตอบแทน ในตราสารหนี้ เงินที่ผู้ลงทุนได้รับจะเรียกว่า "ดอกเบี้ย (Interest)" ซึ่งจะมีอัตราและมีวันที่จะต้องจ่ายที่แน่นอนและชัดเจน (ส่วนใหญ่จะมีอัตราที่ต่ำกว่าตราสารทุน เพราะความเสี่ยงต่ำ) ส่วนตราสารทุนเงินที่ผู้ลงทุนได้รับจะเรียกว่า "เงินปันผล (Dividend)" ซึ่งจะจ่ายหรือไม่จ่ายก็ได้ แล้วแต่บริษัท (เศร้า) และนอกจากนี้ยังมีเงินอีกส่วนที่ได้จากการขายหุ้น หรือเรียกว่าส่วนเกินมูลค่าหุ้นนั่นเอง ซึ่งอาจจะกำไร หรือขาดทุนก็แล้วแต่กรณี ในแง่ของบริษัทผู้ออกตราสาร ในกรณีที่ออกตราสารหนี้ ดอกเบี้ยที่เราจ่ายให้เจ้าหนี้จะสามารถนำมาหักภาษีได้ แต่ในตราสารทุน อดแดรกจ้า
3. ความแตกต่างด้านระยะเวลา สำหรับตราสารหนี้ระยะเวลาในการถือตราสารของผู้ลงทุนจะถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน แต่ตราสารทุนค่อนข้างที่จะหลากหลายและดูเหมือนนานกว่า (ถ้าไม่ขายซะก่อน)
4. ความแตกต่างทางด้านความเสี่ยง ผู้ที่ลงทุนกับตราสารหนี้จะมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่า ไม่ว่าจะเป็นตราสารหนี้จากภาครัฐหรือเอกชน เนื่องจากผู้ลงทุนจะได้รับเงินดอกเบี้ยก่อนผู้ที่ลงทุนในตราสารทุนเสมอ (ก็กุเป็นเจ้าหนี้อ่ะ) ซึ่งได้ถูกกำหนดเป็น Rate และ เวลาการชำระหนี้ที่แน่นอน
5. ความแตกต่างหากเลิกกิจการ ซึ่งเป็นธรรมดาที่เจ้าหนี้จะได้ตังค์ก่อนหากบริษัทเจ๊ง ส่วนเจ้าของก็โชคจ้า