Tuesday, April 20, 2010

มหากาพย์แห่ง Business Intelligent และ Pentaho ภาคอวสาน

ต่อเนื่องจากมหากาพย์ภาคแรก ภาคนี้จะมาบอกถึง Feature ตัวที่เหลือที่น่าสนใจของ Pentaho ให้ได้รู้กัน

Reporting

Pentaho Reporting ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลในรายงานตาม Layout ที่กำหนด (Static Report) ได้หลายรูปแบบทั้งในรูปแบบของ PDF, Excel, RTF, Text File ซึ่งรายงานดังกล่าวสามารถจัดส่งถึงผู้ใช้งานผ่านทาง Web Portal, E-Mail หรือแม้แต่ใน Application


ความสามารถของ Reporting ประกอบด้วย

  • รองรับมาตรฐาน Java 100% (อีกแล้ว)
  • มีความยืดหยุ่นในการ Deployment รายงานที่ออกแบบในเครื่อง Desktop ไปเป็นรายงานที่อยู่บนเว็บซึ่งสามารถตอบโต้กับผู้ใช้งานได้
  • รองรับการเชื่อมต่อกับข้อมูลได้ทั้งแบบที่เป็น Relational Database, OLAP หรือแม้แต่ XML
  • กำหนดรูปแบบของรายงานได้หลายรูปแบบ เช่น PDF, Excel, RTF, Text File
  • มีเครื่องมือช่วยในการสร้างรายงาน ช่วยให้สร้างรายงานได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น (ใครเคยเล่น iReport หรือ Crystal Report จะเห็นภาพ)
  • เชื่อมต่อกับ Data Source ได้โดยตรงหรือจะผ่าน META-DATA ก็ได้
  • ตั้งเวลาในการสร้างรายงานหรือจะสร้างรายงานทันทีที่ต้องการใช้งาน
  • ส่งรายงานได้หลายช่องทาง เช่น E-Mail, Printer, File Server, Web Portal, Application หรือแม้แต่ Web Service
  • แสดงข้อมูลในรายงานได้หลายหลายรูปแบบ เช่น Table, Chart, Template, Sub Report, Drill Link, Header, Footer เป็นต้น
  • รองรับ JDBC 2.0 เป็นต้นไป
  • รองรับหลากหลายฐานข้อมูล เช่น Oracle, DB2, Microsoft SQL, MySQL, PostgreSQL และอีกมากมาย
  • รองรับหลายการใช้หลาย Data Source ในหนึ่งรายงาน
  • สามารถแยกรายงานหนึ่งตัวออกเป็นหลายไฟล์ตามเงื่อนไขที่ระบุ เช่นแยกตามกลุ่มผู้ใช้งาน โดยในแต่ละไฟล์ สามารถระบุได้ว่าจะจัดส่งรายงานด้วยวิธีใด เช่น ส่ง E-Mail, พิมพ์ออกเครื่องพิมพ์ ความสามารถทั้งหมดที่กล่าวมาเรียกว่า Report Bursting
  • ระบุเงื่อนไขในการสร้างรายงาน ผู้ใช้งานสามารถระบุ Parameter ได้ตามต้องการ


Ad-hoc Query


Pentaho Ad-hoc Query เป็นส่วนที่ต่อขยายจาก Pentaho Reporting ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างรายงานอย่างง่าย ได้ด้วยตัวเอง โดยมีเครื่องมือลักษณะเป็น Wizard อ่านข้อมูลจาก META-DATA ร้างไว้ก่อนหน้านี้ซึ่งจะใช้ข้อความหรือคำศัพท์ที่ผู้ใช้งานคุ้นเคย ทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจในข้อมูลที่จะเลือกมาสร้างรายงาน

ความสามารถของ Reporting ประกอบด้วย -

  • รองรับมาตรฐาน Java 100%
  • สร้างรายงานอย่างง่ายได้ด้วยตัวเอง เพียงลากวาง (Drag and Drop) ข้อมูลที่ต้องการ จาก META-DATA
  • จัดเรียงข้อมูล (Sorting) และกรองข้อมูล (Filter) ได้ตามต้องการ
  • ระบุขนาดกระดาษ, ชื่อรายงาน, ข้อความที่จะพิมพ์บน Header และ Footer ได้ตามต้องการ
  • มี Template ของรายงานให้เลือกใช้
  • Ad-hoc Query ที่สร้างขึ้นสามารถปรับปรุงรูปแบบให้ดีขึ้นได้ด้วย Report Designer


Analysis


ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงโต้ตอบ (Interactive) กับข้อมูลที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูลโดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้าน Programming ผู้ใช้งานสามารถหาคำตอบจากคำถามทางธุรกิจที่ตนเองสงสัยได้ด้วยตนเอง

ความสามารถของ Analysis ประกอบด้วย

  • รองรับมาตรฐาน Java 100%
  • ผู้ใช้งานสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ด้วยตนเองอย่างรวดเร็ว เพียงลากวางข้อมูลที่ต้องการ อีกทั้งยังสามารถ Drill Down ลงไปดูรายละเอียดข้อมูลที่ต้องการได้อีกด้วย
  • แสดงข้อมูลในลักษณะ Cross Tab Report
  • การดูข้อมูลในมุมมองต่างๆ (Dimension) ไม่ว่าจะมองมุมมองเดียว (Slice) หรือหลายมุมมอง (Dice)
  • สามารถแสดงแผนภาพ (Chart) ตามข้อมูลที่เลือกได้
  • คำนวณข้อมูลที่ซับซ้อนได้หลายหลายมุมมอง (Multi Dimensional)
  • export ข้อมูลออกมาได้หลายรูปแบบ เช่น PDF, HTML, Excel, RTF, Text File
  • รองรับ Multidimensional Expression (MDX) language เพื่อใช้ในการแสดงข้อมูลในรูปแบบที่ซับซ้อน
  • ดูข้อมูลแบบลำดับชั้นได้ (Hierarchy)
  • รองรับ JDBC 2.0 เป็นต้นไป
  • รองรับหลากหลายฐานข้อมูล เช่น Oracle, DB2, Microsoft SQL, MySQL, PostgreSQL และอีกมากมาย
  • กำหนดสิทธิ์การใช้งานได้ข้อมูล RDBMS

Dashboard


ช่วยให้ผู้ใช้งานเห็นข้อมูลประสิทธิภาพการทำงาน (Performance) และเป้าหมายการทำงานทั้งในระดับส่วนตัว, ระดับแผนก, ระดับบริษัท ในรูปแบบที่เป็นรูปภาพหรือแผนภาพ ช่วยให้ผู้ใช้งานมองเห็นข้อมูลในแต่ละระดับในภาพรวมซึ่งสามารถนำไปพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานต่อไป

ความสามารถของ Dashboard ประกอบด้วย -

  • รองรับมาตรฐาน Java 100%
  • ช่วยในการชี้วัดประสิทธิภาพการทำงาน
  • ง่ายต่อการเข้าใจข้อมูลเนื่องจากแสดงข้อมูลในรูปแบบที่เป็นรูปภาพหรือแผนภาพ
  • เชื่อมต่อกับ Pentaho Reporting และ Pentaho Analysis ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถดูรายละเอียดของข้อมูลที่มีปัญหาหรือข้อสงสัยได้ (Drill Down)
  • เชื่อมต่อกับ Portal ทำให้สามารถแสดงข้อมูลได้หลายหลายและเป็นอิสระต่อกัน ซึ่งทำให้รองรับกลุ่มผู้ใช้งานที่มากขึ้น
  • กำหนดเงื่อนไข เพื่อให้ระบบแจ้งเตือนผู้ใช้งานให้ทราบถึงสถานการณ์ต่างๆที่กำลังจะเกิดขึ้นซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถรับมือหรือแก้ปัญหากับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นได้

Data Integration


คือเครื่องมือที่ใช้สร้างคลังข้อมูล (Data Warehouse) โดยทั่วไปเครื่องมือดังกล่าวเรียกว่า ETL (Extraction, Transformation and Loading)

  • Extraction คือการดึงข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่เราต้องการมาเก็บไว้ใน Data Warehouse โดยจะดึงมาเฉพาะข้อมูลใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาหรือข้อมูลที่ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไข โดยข้อมูลที่ดึงมาจะมาเก็บพักไว้ก่อนซึ่งเรียกว่า Staging Area•
  • Transformation คือการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของข้อมูลที่ได้จากการ Extract ให้อยู่ในรูปแบบที่ถูกต้องตามโครงสร้างของ Data Warehouse •
  • Loading คือการเก็บข้อมูลลงใน Data Warehouse หลังจากทำการแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ถูกต้อง

ความสามารถของ Pentaho Data Integration ประกอบด้วย

  • รองรับมาตรฐาน Java 100%
  • ง่ายต่อการใช้งาน ด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่จัดเตรียมไว้ให้ในรูปแบบกราฟิก เพียงลากวางเครื่องมือต่างๆ ตามกระบวนการที่ต้องทำ
  • รองรับ Slowly Changing Dimension และ Junk Dimension
  • ออกแบบมาเน้นในเรื่องของประสิทธิภาพ (Performance) และการขยายระบบเมื่อระบบมีปริมาณการใช้งานที่มากขึ้น (Scalability)
  • มีเครื่องมือในการเชื่อมต่อกับระบบ ERP (ERP Connectors)
  • มีเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล (Data Quality)
  • รองรับหลากหลายแหล่งข้อมูล (Data Source) ไม่ว่าจะเป็น Database, File Base (DBF), Text File, Excel File และอื่นๆ
  • เชื่อมต่อกับ Pentaho BI Suite ทำให้สามารถใช้ความสามารถอื่นๆร่วมกันได้เช่น เรื่องของการ Scheduling, Security, Workflow เป็นต้น
  • นำไปใช้งานในลักษณะต่างๆ ดังนี้ สร้างคลังข้อมูล (Populate Data Warehouse), Export ข้อมูลจากฐานข้อมูลไปเป็น Text File, Import ข้อมูลจาก Text File เข้าฐานข้อมูล, นำข้อมูลจากฐานข้อมูลหนึ่งไปเข้าอีกฐานข้อมูลหนึ่ง, ดูข้อมูลจากฐานข้อมูลที่มีอยู่

ที่มา : http://www.goingjesse.com/gj/index.php?option=com_content&view=article&id=11&Itemid=2

นี่คือความสามารถที่ Pentaho ได้จัดเตรียมไว้ให้แล้ว ดังนั้นการทำ Business Intelligent ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะเรียนรู้อีกต่อไป หากใครสนใจก็สามารถไปศึกษาต่อได้ที่ http://www.pentaho.com/

Note : ข้อความในนี้ส่วนใหญ่หาข้องมูลจาก Commercial Site ของ Pentaho

1 comment:

  1. บอกตามตรงว่าใช้ยากครับ ถ้าคนมีความรู้ทางด้านพัฒนา web application น้อย ตัวผมคนนึงล่ะที่จะไม่ใช้ ถ้าไม่จำเป็น
    Bug ก็เยอะ (Community edition นะครับ) แต่ถ้าเป็น enterprise edition ก็พัฒนาได้เร็ว เพราะสามารถสร้าง dashboard ได้ง่ายกว่าเดิมเยอะ ไม่ต้องไปเขียน javascript มากมายแต่อย่างใด
    ขออภัยที่ต้องบอกอย่างนี้นะครับ เพราะความรู้ด้าน web app น้อย ถ้าท่านใดมีความรู้ web app ดีอยู่แล้ว ใช้ไปก็คงสะดวกไม่น้อย
    แต่การทำ ad hoc query นั้น สะดวกดี ก็ควรใช้อยู่
    ขอบคุณครับ

    ReplyDelete